ทำความรู้จัก Super Antioxidant “สารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin)” ซึ่งเป็นสารแคโรคทีนอยด์ที่มีประโยชน์หลากหลายและะมีคุณค่ามากที่สุดชนิดหนึ่งที่พบในธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระ(Free radical)ที่มีสมบัติช่วยลดความรุนแรงของ “โรคอัลไซเมอร์” โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน ระบบเผาผลาญ อายุยืนยาวและช่วยทำให้ผิวสวยอ่อนเยาว์ไร้ริ้วรอยได้อีกด้วย
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) คืออะไร
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พบ ในปลาแซลมอน เปลือกกุ้งปู และ Microalgae Haematococcus Pluvialis ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับสารชนิดนี้จากอาหารชนิดอื่น
แต่ปริมาณที่ได้จากธรรมชาติจะน้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนธินเพียง 1 มิลลิกรัม เท่านั้น
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จากธรรมชาติ มีจากหลายแหล่ง เช่น สาหร่ายสีแดง Microalgae Haematococcus Pluvialis จากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการสกัด ด้วยระบบปิด ปราศจากการปนเปื้อน ไม่ใช้สารเคมี ทำให้ได้แอสตาแซนธินธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% มีคุณภาพสูง มีปริมาณความเข้มข้นคงที่
ข้อดี ของ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ชะลอความชรา ลดริ้วรอย
- ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ
- ช่วยบำรุงสายตาลดอาการเมื่อยล้าของสายตา
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- ช่วยบำรุงสมอง
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ช่วยดูแลลสุขภาพตับ
- ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร
ประโยชน์ ของ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
1. สารต้านอนุมูลอิสระ
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แอสตาแซนธินมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งแตกต่างกับ เบตาแคโรทีน วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ที่แค่ช่วยปกป้องภายในหรือภายนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น ดังนั้นแอสตาแซนตินสามารถปกป้องเซลล์ได้ครอบคลุมมากกว่านั่นเอง
มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทําการศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ พบว่า แอสต้าแซนธินมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้แรงกว่าสารชนิดอื่น ดังนี้
- วิตามิน ซี 6,000 เท่า
- โคคิวเท็น (CoQ10) 800 เท่า
- วิตามิน อี 550 เท่า
- Green tea catechins 550 เท่า
- Alpha lipoic acid 75 เท่า
- เบต้าแคโรทีน 40 เท่า
- สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า
2. ชะลอความชรา ลดริ้วรอย
ริ้วรอยที่ปรากฏ เป็นผลสืบเนื่องจาก ผิวหนังชั้นในสุดถูกทําลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความชรา ผิวหนังจะใช้เวลาในการสร้างเซลล์ผิวใหม่เพื่อทดแทนเซลล์ผิวที่ตายแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ส่งผลให้ผิวหนังหม่นหมอง ไม่สดใส เกิดริ้วรอย แอสตาแซนตินจะดักจับอนุมูลอิสระที่ผลิตออกมา จึงทำให้ผิวหนังสามารถเกิดกระบวนการสร้างใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น ริ้วรอยลดลง และเกิดความสมดุลของเกราะกำบังผิว
3. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
คนที่เป็นเบาหวานจะมีการสร้างอนุมูลอิสระปริมาณมาก เมื่ออนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น เชลล์ตับอ่อนที่สร้างอินซูลินถูกทําลายได้ง่าย ทําให้อินซูลินทำงานผิดปกติ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการศึกษาพบว่า แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ธรรมชาติ สามารถลดอนุมูลอิสระในเซลล์ตับอ่อนได้ จึงช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความไวต่อการทำงานของอินซูลินกับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย
4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
อนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์ของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ ซึ่งแอสต้าแซนธินสามารถกำจัดและป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทําลายผนังหลอดเลือด จึงช่วยยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า แอสตาแซนธินธรรมชาติ สามารถลดการเกิดออกซิเดชันของ LDL Cholesterol ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันรวม และช่วยเพิ่ม HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดีต่อสุขภาพ)
5. ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ธรรมชาติจะช่วย ลดการเกิดการอักเสบในทางเดินอาหาร อันเนื่องมาจากเชื้อ H.pyroli อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารอักเสบ
6. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดวงตา
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จะต่อต้านการทำลายของอนุมูลอิสระ ที่ซึมผ่านเยื่อหุ้มเชลล์ที่กล้ามเนื้อตา ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ปรับย่อขยายเลนส์ตาแข็งแรงมากขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดความเมื่อยล้าจากการหดตัวของกล้ามเนื้อดวงตา
7. ดูแลสุขภาพตับ
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จึงมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยให้ตับแข็งแรง ซึ่งตับที่แข็งแรงจะส่งผลต่อสุขภาพที่แข็งแรงของเราด้วย
8. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่อการอักเสบเเละต่อสู้กับความเครียดจากออกซิเดชัน และะทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
9. ช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ
จากผลการศึกษาโดยให้รับประทาน แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ธรรมชาติ ขนาด 2-4 มก./วัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า แอสตาแซนธินธรรมชาติช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับ ความทนทานของร่างกาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นและอ่อนเพลียน้อยลง
โรคที่นิยมบำรุงด้วย แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
- โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
- โรคพากินสัน (Parkinson’s disease)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ภาวะคอเลสเตอรอลสูง
- โรคตับ
- โรคทางตา ได้แก่ ต้อกระจก (Cataract) และจุดภาพตาเสื่อมตามวัย (Macular degeneration) โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกับเบาหวานสูง
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
- โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid arthritis)
ผู้ที่ควรทาน แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
- ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
- ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
- ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่น
- ความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์
- ผู้ที่ทำงานหนัก
- ผู้ที่ต้องทํางานใช้สายตากับคอมพิวเตอร์นาน
- นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ผู้ที่มีภาวะความเครียด
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารอักเสบ
ปริมาณของ แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ที่ควรได้รับต่อวัน
มีรายงานการวิจัยระบุว่า แนะนำให้รับประทานแอสตาแซนธิน วันละ 2-12 มก. เป็นประจํา
หากมีข้อสงสัยด้านปริมาณที่ควรรับประทาน
ควรสอบถามเภสัชกรที่ร้านขายยาหรือแพทย์ในโรงพยาบาล
วิธีการรับประทานอาหารเสริม แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
รับประทานอาหารเสริม แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ควรรับประทานพร้อมอาหาร เนื่องจากแคโรทีนอยด์ละลายในไขมันได้ เช่น วิตามินอีและวิตามินเค แอสตาแซนธินจึงดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อรับประทานพร้อมอาหาร
ปริมาณที่นิยมบริโภคสำหรับผู้ใหญ่คือ 4–18 มิลลิกรัมต่อวัน และรับประทานต่อเนื่องกันไม่เกิน 12 สัปดาห์ โดยปริมาณการรับประทานขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น ปริมาณ 4 มิลลิกรัมต่อวันมีผลในการลดการอักเสบได้ดี หรือบริโภคในปริมาณ 12 มิลลิกรัมต่อวันมีส่วนช่วยในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้มากขึ้น
แม้จะเป็นสารจากธรรมชาติก็ไม่สามารถรับประกันถึงความปลอดภัย จึงควรใช้ตามฉลากผลิตภัณฑ์และปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนการรับประทาน รวมไปถึงรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อวัน
แหล่งอ้างอิง :
- Choi, Hye Duck, et al. “Positive effects of astaxanthin on lipid profiles and oxidative stress in overweight subjects.” Plan Foods Hum Nutr. November 2011. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- Ito, Naoki, et al. “The Protective Role of Astaxanthin for UV-Induced Skin Deterioration in Healthy People-A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial.” Nutrients. June 2018. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- Ni, Yinhua, et al. “Astaxanthin prevents and reverses diet-induced insulin resistance and steatohepatitis in mice: A comparison with vitamin E.” Sci Rep. November 2015. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- Tominaga, Kumi, et al. “Protective effects of astaxanthin on skin deterioration.” J Clin Biochem Nutr. July 2017. pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- Urakaze, Masaharu, et al. “The Beneficial Effects of Astaxanthin on Glucose Metabolism and Modified Low-Density Lipoprotein in Healthy Volunteers and Subjects with Prediabetes.” Nutrients. December 2021. mdpi.com