fbpx
ออกกำลังกาย - exercise

สุขภาพดี ง่ายๆด้วย ออกกำลังกาย

การ ออกกำลังกาย เพื่อ สุขภาพ และได้ประสิทธิภาพ ควรเริ่มต้นอย่างไร?

เพราะความสุขเริ่มต้นจากการมีสุขภาพที่ดี และ สุขภาพที่ดี เกิดขึ้นได้จากการ ‘ออกกำลังกาย’ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่แข็งแรงให้กับคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากการออกกำลังกายประกอบไปด้วยคุณประโยชน์มากมายทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากปฏิบัติเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีอย่างยิ่ง

เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้กิจวัตรประจำวันหรือการทำงานส่วนใหญ่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการออกกำลังกายที่น้อยลงจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอและะเหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง  สามารถป้องกัน รักษา และฟื้นฟูร่างกายได้

ประโยชน์ของการ ออกกำลังกาย เพื่อ สุขภาพ

  • การออกกำลังกายช่วยป้องกันมะเร็งได้
  • ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส
  • ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน
  • การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดอันดับสองในประเทศไทยอีกด้วย
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS) ลดอุบัติการของกระดูกหักที่กระดูกสันหลัง, กระดูกสะโพก
  • ช่วยลดไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล (CHOLESTEROL), ไตรกลีเซอไรด์ (TRIGLYCERIDE) เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, อัมพาต, อัมพฤกษ์
  • ทำให้คล่องแคล่ว ทรงตัวดี ลดการลื่นล้มบาดเจ็บ
  • ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคภูมิแพ้
  • ช่วยในการย่อย และดูดซึมอาหาร ลดท้องอืดท้องเฟ้อ ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดความอ้วน
  • โอกาสเกิดติดเชื้อน้อยลง
  • มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น
  • ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
  • นอนหลับได้ดี
  • ชะลอความแก่ ความเสื่อมของสมรรถภาพทางร่างกาย ทำให้ดูหนุ่มสาวขึ้น ยืดอายุให้ยืนยาว
ออกกำลังกาย - exercise

ประเภทของ ออกกำลังกาย

การ ออกกำลังกาย แต่ละประเภทให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ไม่เหมือนกัน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. การออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของระบบหัวใจ ปอดและหลอดเลือด (Cardiovascular Respiratory Exercise) หรือเรียกสั้นๆ ว่า คาร์ดิโอ(Cardio exercise) ซึ่งการออกกำลังกายรูปแบบนี้จะช่วยเสริมสร้างความทนทานของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต เช่น

  • วิ่ง (jogging,เดินเร็ว)
  • ว่ายน้ำ
  • ปั่นจักรยาน
  • เต้นแอโรบิค

การออกกำลังกาย ให้มีประสิทธิภาพ ด้วยรูปแบบการออกกำลังกายนี้ ควรทำ

  • อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 20-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • สิ่งสำคัญการทำควรไล่ระดับจากเบาไปปานกลาง เมื่อร่างกายพร้อมค่อยขึ้นไปในระดับที่หนักขึ้น

2. การออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Resistance Exercise) ถ้าความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ จะทำให้การทำกิจวัตรประจำวันไม่เป็นไปตามความต้องการ แม้จะไม่ทำให้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายบั่นทอนคุณภาพชีวิตได้เหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุหากขาดความแข็งแรงในด้านนี้จะทำให้พลัดล้มได้ง่ายเสียสมดุลได้ง่าย เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกแตกหักง่ายเมื่อล้ม รูปแบบการออกกำลังกายนี้ ดังเช่น

  • การยกน้ำหนักหรือเล่นเวท การออกกำลังกายแบบแรงต้านมีหลากหลายรูปแบบ เช่น  การวิดพื้นหรือซิตอัพ ใช้แรงต้านจากยางยืด ใช้แรงต้านกับอุปกรณ์ภายในบ้านต่าง ๆ เช่น กระเป๋า ขวดน้ำ หรือหนังสือ

โดยการออกกำลังกายรูปแบบนี้ให้มีประสิทธิภาพ แนะนำว่า

  • ควรทำให้ครบทุกส่วน สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
  • หรือจะใช้วิธีเล่นสลับก็ได้ คือ วันนี้เล่นส่วนหนึ่งอาจจะเป็นแขน พักหนึ่งวันและสลับกับการออกกำลังกายรูปแบบอื่นอีกหนึ่งวัน จากนั้นก็ให้มาเล่นอีกส่วนอาจจะเป็นส่วนขา ก็ได้

3. การออกกำลังกายที่เน้นความยืดหยุ่นของร่างกาย (Flexibility Exercise) กิจกรรมออกกำลังกายประเภทนี้ได้แก่

  • โยคะ
  • พิลาทิส

การออกกำลังกายรูปแบบนี้ : จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ต้องค่อยๆ ทำอย่างช้า ๆ จนถึงจุดที่รู้สึกตึงหรือไม่สบาย แต่ไม่ใช่เจ็บปวด การฝึกความอ่อนตัวและความยืดหยุ่นของร่างกายมีความจำเป็นสำหรับคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือคนที่ต้องใช้แรงงานหนัก เพราะช่วยลดอาการบาดเจ็บและความเมื่อยล้าของร่างกายได้

ออกกำลังกาย - exercise

แต่ละคนจะเลือก ออกกำลังกาย รูปแบบไหน พิจารณาจากอะไร?

  • ความพร้อมของร่างกายตนเอง ดังเช่น พื้นฐานร่างกายว่ามีโรคประจำตัวไหม มีความฟิตแค่ไหน ต้องพิจารณาให้ดีก่อนเริ่ม

  • และเมื่อออกกำลังกายก็ควรเริ่มจากค่อย ๆ ปฏิบัติไปตามสภาพร่างกายของเรา ทำจากเบาไปหาหนัก

  • สิ่งสำคัญคือ  ระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมหรือมากเกินไปซึ่งโดยส่วนใหญ่มักไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้งและ อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะการออกกำลังกายที่มากเกินไปจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี นี่คือการเข้าสู่กระบวนการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพ

ออกกำลังกาย อย่างไรให้ได้ผล?

  • ควรเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (AEROBIC EXERCISE) คือการออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงานขณะออกกำลังกาย และเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา ไปพร้อมๆ กัน ทำต่อเนื่องไม่หยุดอย่างน้อย 20 นาที

  • การจะให้ได้ผลทางด้านสุขภาพต้องออกกำลังกายไม่น้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

  • ความหนักของการออกกำลังกายควรเป็นแบบหนักปานกลาง คือออกกำลังกายให้ชีพจรอยู่ระหว่าง 60-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด อัตราการเดินของหัวใจสูงสุดต่อนาที คือ 220-อายุ ตัวอย่างเช่น
    • ผู้ออกกำลังกายอายุ 65 ปี มีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด 220-65 = 155 ครั้ง/นาที

    • 60% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (155×60)/100 = 93 ครั้ง/นาที

    • 80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (155×80)/100 = 124 ครั้ง/นาที

เพราะฉะนั้นชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) ของคนอายุ 65 ปี ขณะออกกำลังกายควรอยู่ระหว่าง 93-124 ครั้ง/นาที

  • จับชีพจร (ที่ข้อมือ หรือคอ) ก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกาย
  • มีการอบอุ่นร่างกาย (WARM UP) 5-10 นาที ก่อนออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ ข้อ เอ็น ป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเหล่านี้
  • มีการผ่อนคลายร่างกาย (Cool-Down) 5-10 นาที หลังออกกำลังกาย เพื่อให้ของเสีย เช่น กรดแลคติด (Lactic Acid) และสารเกลือโปแตสเซี่ยม ค่อยๆ ออกจากกล้ามเนื้อ และการหยุดออกกำลังการทันทีจะทำให้เลือดวิ่งกลับเข้าหัวใจไม่พอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้หน้ามืดเป็นลมได้

  • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ
  • สถานที่ใช้ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่เรียบ ไม่ขรุขระ ทางไม่ลาดชัน หรือเป็นเนินขึ้นลง มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนออกกำลังกายประมาณ 15 นาที ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว และหลังออกกำลังกายอีก 1 แก้ว เพื่อชดเชยน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปกับเหงื่อจากการออกกำลังกาย
  • มีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุ หรือมีอาการผิดปกติจะได้มีคนช่วยเหลือได้ทันท่วงที

หยุด ออกกำลังกาย เมื่อมีอาการเหล่านี้

  • เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติจากเดิม

  • เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่ได้เต็มที่

  • อ่อนเพลียมากผิดปกติ
exersire

หยุดออกกำลังกายเมื่อมีอาการเหล่านี้

  1. รับประทานอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อน การออกกำลังกาย
  2. สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย เพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก
  3. สวมรองเท้าที่พอดี และเหมาะสมกับการออกกำลังกาย
  4. อบอุ่นร่างกาย 10 นาที ก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง
  5. เริ่มออกกำลังกายช้าๆและฝึกออกกำลังกายที่มีระดับความหนักต่ำ
  6. ดื่มน้ำก่อนและหลังการออกกำลังกายอยู่เสมอ

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page