ฮีตสโตรก - heatstroke

โรคลมเเดด หรือ ฮีทสโตรก ภัยร้ายฤดูร้อน

มาทำความรู้จัก โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นสภาวะทางการเเพทย์ที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นเมื่อระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเกิดความล้มเหลว ส่งผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายมีความร้อนสูง (มากกว่ากว่าหรือเท่ากับ 40 องศาเซลเซียส หรือ 104 ฟาเรนไฮต์) จนเป็นอันตรายได้ ถือเป็นสาเหตุฉุกเฉินทางการเเพทย์เเละต้องได้รับการดูเเลทันทีเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายแรงหรือการเสียชีวิต มักจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อมีสภาวะที่กระหายน้ำร่วมด้วยเเละการออกกำลังกายอย่างหนัก

ภาวะ ฮีทสโตรก (Heatstroke) อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที  เเละ ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย โดยบางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้

ฮีตสโตรก - heatstroke

ประเภทของ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

ฮีทสโตรก (Heatstroke) เกิดขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. โรคลมแดด ที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (classical heatstroke or non-exertional heatstroke: NEHS) : การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น โรคลมแดดแบบคลาสสิกหรือแบบไม่ต้องออกแรงมักเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนและชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเวลานาน
  2. . ฮีทสโตรกจากภายนอก (Exertional heatstroke) :โรคลมแดดที่เกิดจากการออกแรงนั้นเกิดจากกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากหรือการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายเพิ่มขึ้น

สาเหตุของ โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

โรคลมเเดด หรือ ฮีทสโตรก จะเกิดขึ้นเมื่อกลไกการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายทำงานมากเกินไป ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นในร่างกายอย่างรวดเร็ว เเละมีหลายปัจจัยร่วมที่สามารถทำให้เกิดฮีทสโตรกขึ้น ได้เเก่

  1. อากาศร้อนมาก :การสัมผัสกับอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีคลื่นความร้อนหรือในสภาวะเเวดล้อมที่มีอากาศร้อนเเละความชื้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลมเเดด
  2. ภาวะขาดน้ำ เกิดจากการดื่มน้ำน้อยหรือมีเหงื่ออกมากเกินไป หากร่างกายไม่ได้รับน้ำกลับคืนสู่ร่างกายอย่างเหมาะสมเเล้ว จะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ จะทำให้คนนั้นมีโอกาศเกิดภาวะฮีทสโตรกได้ง่ายขึ้น
  3. การออกกำลังกาย ด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากโดยเฉพาะการออกกำลังกายในสภาวะที่ร้อนจัด ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลมเเดดมากขึ้น
  4. ยาบางชนิด  เช่น ยาเเก้เเพ้ (antihistamines), ยาขับปัสสาวะ(diuretics)  เเละ beta-blockers ซึ่งอาจทำให้ความสามารถของร่างกายในการควบคุมอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดน้ำทำให้คนไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อนได้ง่ายขึ้นเหมือนเป็นโรคลมเเดด

สัญญาณเตือน โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) ที่ควรระวัง

  • ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก
  • ความดันโลหิตลดลง
  • หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
  • กระหายน้ำมาก
  • วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
  • คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
  • อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
อาการเตือน ฮีทสโตรก - Warning Signs of Heatstroke

วิธีป้องกันตัวเอง โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

  1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
  3. จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  5. สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
  6. สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง
  7. ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที

การรักษา โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke)

  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอยู่ในที่ร่มหรือในที่มีอากาศถ่ายเทเเละมีเครื่องปรับอากาศ
  • ให้ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำเเร่ ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว
  • ถอดเสื้อผ้าส่วนเกินหรือคับออก
  • ทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิเย็นลง เช่น วางถุงน้ำแข็งหรือผ้าเย็นที่เปียกบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ วางผู้ป่วยในอ่างน้ำเย็นหรือฝักบัวเย็น แล้วฉีดน้ำขณะรอรถพยาบาล
การรักษา ฮีทสโตรก -Treatment of Heatstroke

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page