นั่งสมาธิ - Meditation

การ นั่งสมาธิ เพิ่มสารสุขภาพดี

ทำไม? การนั่งสมาธิ (Meditation) ถึงช่วยเพิ่มสารสุขภาพดี

เพราะการ นั่งสมาธิ สามารถช่วยให้ร่างกายหลั่ง สารเคมี ที่เป็นประโยชน์ต่อ สุขภาพ มากมาย และนำไปสู่การปรับปรุงอารมณ์ การเรียนรู้ การเคลื่อนไหว ความวิตกกังวล นอนหลับ ความสัมพันธ์ และความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดี

สารเคมีเหล่านี้ ได้แก่

  • Dopamine : สารเคมี ที่ ควบคุมอารมณ์ การเรียนรู้ และการเคลื่อนไหว
  • Serotonin : สารเคมี ที่ ควบคุมอารมณ์ ความวิตกกังวล และ การนอนหลับ
  • Oxytocin : สารเคมี ที่ควบคุม ความผูกพัน ความรัก และ ความเห็นอกเห็นใจ
  • GABA : สารเคมี ที่ ควบคุม ความวิตกกังวล และ การนอนหลับ

มาทำความรู้จักกับสารที่ทำให้เราสุขภาพดี ที่สำคัญ

โดปามีน (Dopamine) คืออะไร? ทำไมช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตได้

โดปามีน (Dopamine)  เป็น สารเคมี สื่อประสาท ที่ ส่งสัญญาณในสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จึงมีบทบาทสำคัญในการทำงานทาง สรีรวิทยา และ จิตวิทยา โดยจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษเมื่อเราทำอะไรที่บรรลุตามเป้าหมายหรือพึงพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ

หน้าที่และประโยชน์ ของ โดปามีน (Dopamine)

  •  การควบคุมอารมณ์
  • การเคลื่อนไหว
  • การรับรู้
  • การควบคุมฮอร์โมน
  • การตอบสนองต่อความเครียด
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ความรู้ความเข้าใจ และแรงจูงใจ
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • ความสุขและความเพลิดเพลิน
  • การเรียนรู้ และ ความทรงจำ
Dopmine - โดปามีน

เพิ่ม โดปามีน (Dopamine) อย่างไร?

  1. ทานอาหารดี ถูกหลักโภชนาการ
    • รับประทาน โปรตีน ให้เพียงพอ เช่น เนื้อไม่ติดมัน ปลา ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม
    • รับประทานอาหาร ที่อุดมด้วย ไทโรซีน เนื่องจาก ไทโรซีน เป็นสารตั้งต้นของ โดปามีน อาหารที่อุดมด้วย ไทโรซีน ได้แก่ โปรตีนไร้ไขมัน นม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่ว และเมล็ดพืช
    • ทานผักและผลไม้หลากหลายชนิด เนื่องจากมี วิตามิน และ แร่ธาตุ ที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนการผลิตโดปามีน
    • ทานอาหารเสริมสมอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน เป็นต้น
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ : ควรนอนหลับพักผ่อน อย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเละหลับดีเเละหลับลึกในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 01.30 น. จะเพิ่มฮอร์โมนสุขภาพเเละความสุข
  4. ฝึกฝนใจเพื่อเผชิญและจัดการความเครียด หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ การหายใจเข้าลึกๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือโยคะ
  5. การมีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนๆหรือคนรอบข้าง
  6. เพิ่มประสบการณ์ และ ทำกิจกรรมใหม่ๆ
  7. ทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น การฟังเพลงโปรด การทำงานศิลปะ หรือกิจกรรมที่คิดเเบบสร้างสสรค์

  8. ลดการบริโภค คาเฟอีน และแอลกอฮอล์

การขาด โดปามีน (Dopamine) มีอาการอย่างไร

  • แรงจูงใจต่ำ อยากอยู่เฉยๆ ร่างกายไม่ Active
  • รู้สึกทำอะไรไม่ถูก สมองเบลอ คิดงานไม่ออก
  • สูญเสียความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ หรือ โปรดปรานมากๆ
  • เกิดการสูญเสียอย่างกะทันหัน
  • มีเรื่องราวในอดีตที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง และไม่สามารถจัดการได้

สรุป

โดปามีน (Dopamine) จะมีประโยชน์มากมาย ซึ่งถ้ามีระดับในร่างกายที่น้อยเเละเกิดความไม่สมดุลในร่างกาย อาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท และมีอาการทางจิตเวชได้ ดังนั้นการรักษาระดับโดปามีนให้สมดุลในร่างกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขาด โดปามีน - Dopamine deficiency

เซโรโทนิน (Serotonin) สารเคมีแห่งความสุข ความเศร้า คืออะไร?

เซโรโทนิน (Serotonin) หรือ 5-hydroxytryptamine (5-HT) คือ สารแห่งความสุข และเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยถ่ายทอดสัญญาณจากสมองในบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เซโรโทนินจึงมีบทบาทต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ความรู้สึก รวมถึงพฤติกรรมของเรา ทั้งควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด ความหิว ความอิ่ม การนอนหลับ อารมณ์ทางเพศ และความรู้สึกสุขสงบ

เซโรโทนิน (Serotonin) เกิดได้อย่างไร?

เซโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ร่างกายสร้างจาก กรดอะมิโน ชื่อทริพโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งจะถูกสร้างและอยู่ที่ระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในลำไส้เล็กกว่า 70-80%  ที่เหลือจะสร้างที่สมองและอาจพบได้ที่ตับและไตบ้าง จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อการทำงานของลำไส้ผิดปกติ จะทำให้ฮอร์โมน Serotonin ตัวนี้ลดต่ำลง

เซโรโทนิน (Serotonin) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้

  • อารมณ์  : ควบคุมอารมณ์ให้นิ่ง สงบ มีความสุข
  • ระบบย่อยอาหาร : ควบคุมการขยับและการทำงานของลำไส้
  • นอนหลับ : ควบคุมคุณภาพการนอนหลับโดยเปลี่ยนเป็น เมลาโตนิน (Melatonin)
  • การรักษาแผล : ควบคุมการหยุดไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
  • คลื่นไส้ : ควบคุมความรู้สึกคลื่นไส้และอยากอาเจียน
  • กระดูก : ควบคุมกระบวนการสร้างและสลายกระดูก
  • สุขภาพทางเพศ : ควบคุมความต้องการทางเพศร่วมกันกับ โดปามีน

ถ้ามีระดับสาร เซโรโทนิน (Serotonin) ในระดับสมดุล จะส่งผลต่อ

  • สุขภาพจิตดี
  • อารมณ์ดี
  • นอนหลับดี
  • มีสมาธิ
  • ช่วยให้คิดและตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น  
  • การเรียนรู้เเละการจดจำดีขึ้น

ถ้าระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะส่งผล ดังต่อไปนี้

  • หงุดหงิด
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • ไม่มีสมาธิ
  • การตัดสินใจและการจดจำแย่ลง
  • มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน
  • อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
  • โรคเครียด โรคสมาธิสั้น
เซโรโทนิน - Serotonin

เพิ่มระดับ เซโรโทนิน (Serotonin) ทำอย่างไร?

  1. รับประทาน โปรตีน ให้ครบตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ สับปะรด ปลาแซลมอน ชีส ถั่วเปลือกแข็ง และอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรท ที่ช่วยส่งเสริมให้กรดอะมิโน ทริพโตเฟน เดินทางเข้าสู่สมองได้ดีขึ้น
  2. รับประทานไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง
  3. รับประทาน พรีไบโอติก (Prebiotics) และ โพรไบโอติก (Probiotics)
  4. การนั่งสมาธิ ทำให้จิตใจสงบสุข
  5. ออกกำลังกายให้หลากหลาย พอดี และสม่ำเสมอ
  6. นอนหลับให้มีคุณภาพคือการนอนหลับลึก หลับดี ช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 01.30 น.

ออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือ ฮอร์โมนแห่งความรัก คืออะไร?

ออกซิโทซิน (Oxytocin)  เป็น ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจาก ไฮโปทาลามัส หรือ ต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย โดยฮอร์โมนตัวนี้จะสัมพันธ์กับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเพราะมักจะหลั่งออกมาตอนที่ผู้หญิงคลอดลูก ทำให้มีแรงเบ่ง และสร้างความผูกพันให้กับแม่และลูก หลังจากคลอดบุตรแล้วฮอร์โมนตัวนี้ยังมีผลต่อการให้นมบุตร เพราะมันจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมให้เพียงพอต่อลูกน้อยอีกด้วย

ออกซิโทซิน ฮอร์โมนแห่งความรัก

หากเปรียบเทียบ ฮอร์โมน ตัวนี้เป็น ผู้หญิง เธอก็คงจะเป็นหญิงสาวที่กำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก แถมยังเป็นหญิงสาวที่เทิดทูลความรักเสียด้วย เพราะการหลั่งของ ฮอร์โมน นี้จะสร้างความผูกพันกับคนที่เรารัก โดยเฉพาะเวลากอด สัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาทำให้เกิดความเชื่อใจ และ รู้สึกปลอดภัย เมื่อได้สัมผัสอบอุ่นจากคนที่เรารัก

ออกซิโทซิน - Oxytocin

GABA หรือ ฮอร์โมนที่ทำให้นอนหลับได้ดี คืออะไร?

GABA (GABA: Gamma aminobutyric acid) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำงานเป็นตัวต้านกระแสประสาทจึงช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง GABA ที่เรารับเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปจับกับตัวรับ GABA (GABA Receptor) แล้วช่วยให้ร่างการรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล สมองเกิดความสงบ และยังช่วยควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และช่วยให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะการนอนหลับได้ง่าย

GABA ก็เป็นตัวช่วยชะลอทำงานของสมอง เวลาที่สมองมีการทำงานมากเกินไป ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด และ จิตใจสงบมากขึ้น พร้อมเข้าสู่การพักผ่อนในแต่ละวัน หรือ พร้อมเข้านอนนั่นเอง

GABA มีประโยชน์ต่อร่างกายเรา อย่างไร?

  • บรรเทาความวิตกกังวล
  • เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ
  • ลดอาการซึมเศร้า
  • บรรเทาอาการของ PMS
  • ลดการอักเสบ
  • ช่วยเพิ่มโฟกัสในเด็กสมาธิสั้น
  • เพิ่มระดับโกรทฮอร์โมน
GABA Gamma aminobutyric acid

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page