Homocysteine

Homocysteine ในเลือดสูงอันตรายอย่างไร?

Homocysteine คืออะไร

Homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่จะสร้างกรดอะมิโนตัวอื่นโดยอาศัยวิตามิน บี6 บี12และกรดโฟลิก ถ้าขาดวิตามินดังกล่าว Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ทำให้มีสาร Homocysteine สูงในเลือดและจะทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา และเป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดโดยตรง

ดังนั้น ถ้ามี Homocysteine ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานานติดต่อกัน ผนังด้านในหลอดเลือดจะเริ่มขรุขระและเริ่มมีตะกรันไขมันมาสะสม ในที่สุดก็จะเกิดการอุดตันหรือตีบแคบลง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้มีอาการ อัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เร็วกว่าวัยอันควร

โฮโมซิสเทอีน(Homocystein)ทำหน้าที่อะไร?

เมื่อ homocysteine ทำปฏิกิริยากับวิตามินบี (Vitamin B)โฮโมซิสเทอีนจะเปลี่ยนเป็นสาร 2 ชนิด:

  • เมทไธโอนีน(Methionine) :เป็นกรดอะมิโนจำเป็นและสารต้านอนุมูลอิสระที่สังเคราะห์ (สร้าง) โปรตีน
  • ซิสเทอีน(Cysteine) :เป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นที่สังเคราะห์จากเมไทโอนีน ซึ่งช่วยลดการอักเสบ เพิ่มการสื่อสารระหว่างเซลล์ที่สร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้ตับมีสุขภาพดี

โฮโมซิสเทอีนที่สูงเกินไป จะเกิดอะไร?

  • ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง : ระดับโฮโมซิสเทอีน ประมาณ 5-15 ไมโครโมลต่อลิตร (mcmol/L) โดยโฮโมซิสเทอีนเกือบทั้งหมดจะถูกปลี่ยนเป็นโปรตีนชนิดอื่น
  • ผู้ที่มีระดับโฮโมซิสเทอีน >50 ไมโครโมลต่อลิตร(McMillan/L) โฮโมซิสเทอีนที่มากเกินไปอาจไปทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดง (หลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนไปทั่วร่างกาย) และทำให้เกิดลิ่มเลือดหรือหลอดเลือดอุดตันได้ ความเสียหายของหลอดเลือดแดงหรือลิ่มเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจวาย สูงขึ้นมาก
amino homocysteine

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ Homocysteine ในเลือดสูง

  • ขาดวิตามินบี12, บี6 หรือโฟเลต
  • กรรมพันธ์
  • โรคหัวใจ
  • รับประทานอาหารพวกโปรตีนมากเกินไป
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และะคาเฟอีน
  • โรคทางพันธุกรรมที่หายาก เช่น โฮโมซิสตินูเรีย(Homocysteinuria) (เมื่อร่างกายไม่สามารถประเมินกระบวนการทำงานของเมทไธโอนีนได้)

ระดับโฮโมซิสเทอีนสูงมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

  • ลิ่มเลือด
  • โรคสมองเสื่อม
  • อาการหัวใจวาย
  • โรคหัวใจ
  • โรคกระดูกพรุน

โฮโมซิสเทอีนจำเป็นต้องตรวจเมื่อไร?

แนะนำควรต้องตรวจระดับโฮโมซิสเทอีน หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจ เเละมีอาการขาดวิตามินบี อาการทั่วไปของการขาดวิตามินบี ได้แก่:

  • อาการวิงเวียนศรีษะ
  • ความเหนื่อยล้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผิวซีด
  • อาการเสียวซ่าที่เท้า แขน หรือมือ
  • อาการเจ็บลิ้นหรือปาก

ปัจจัยอื่นที่ทำให้ระดับโฮโมซีสเตตินในเลือดสูง

ระดับโฮโมซิสเทอีนที่ผิดปกติไม่ได้บ่งชี้ว่าเรามีอาการป่วยใดๆ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อระดับโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูงขึ้นได้แก่:

  • อายุมากขึ้น
  • เพศชาย
  • การดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
โฮโมซีสเตติน สูง - high levels of homocysteine

ลักษณะอาการผิดปกติเมื่อค่าของสารโฮโมซีสทีนสูงจะมีลักษณะอย่างไร

อาการจะมีลักษณะคล้ายกับอาการของภาวะไขมันในเลือดสูงเหมือนกัน อาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องของอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีอากาอัมพฤกษ์ – อัมพาตเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาของหลอดเลือดโดยทั่วไปในสมองอุดตัน

การดูแลควบคุมระดับของ Homocysteine ในเลือด

  • รับประทานอาหารเสริม กลุ่มวิตามิน บี6,วิตามินบี12 และกรดโฟลิก(พบมากในผลไม้และผักใบเขียว)
  • การหลีกเลี่ยงหรือเลิกสูบบุหรี่
  • บริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
  • ลดความเครียด ทำจิตใจให้สบาย

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และอยากป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ด้วยการตรวจเช็คสุขภาพ

รายการตรวจที่แนะนำสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ

  1. hs – CRP (High Sensitivity C-reactive Protein Test)
  2. Homocysteine
  3. Fibrinogen
  4. D-dimer

แม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองนี้จะอันตรายก็จริง แต่หากเรารู้สัญญาณเตือนของโรคก็จะช่วยทำให้เรารู้ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ และหากความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่เราแก้ไขได้ เราควรรีบแก้ไขและหลีกเลี่ยงให้ทันท่วงที เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและ

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page