เมลิออยโดสิส - melioidosis

Melioidosis โรคร้ายที่มาพร้อมฤดูฝน

หน้าฝนเป็นฤดูที่ต้องระวังหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่แฉะ ชื้น ไปไหนมาไหนก็ลำบาก อีกทั้งยังเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่มาพร้อมกับอากาศชื้น ดังเช่นโรคที่มีชื่อว่า เมลิออยโดสิส (Melioidosis) โรคที่มักเกิดกับคนทำงานที่ต้องสัมผัสกับดินและน้ำบ่อย ๆ ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมากเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis) คืออะไร?

โรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei (B. pseudomallei) เป็น แบคทีเรียฺแกรมลบ (gram-negative bacteria) ที่ก่อโรคในคนและสัตว์ในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยพบโรคนี้มากในภาคอีสาน

ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกับคนที่ทำอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องสัมผัสดินและน้ำเป็นประจำ เพราะเชื้อแบคทีเรียตัวนี้แพร่กระจายอยู่ในดินและน้ำ ทำให้เกิดอาการติดเชื้อส่วนต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง ปอด กระแสเลือด และอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น สมอง ตับ และไต

ระยะฟักตัวในผู้ป่วยที่เกิดอาการเฉียบพลัน จะมีระยะเวลา 1-21 วัน แต่มักจะพบอาการโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9 วัน

โรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis) ติดเชื้อได้ทางไหนบ้าง?

  • บาดแผลที่ผิวหนัง
  • ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน
  • หายใจรับฝุ่นละอองที่มีเชื้อปนเปื้อน

กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ

เกษตรกร เพราะต้องสัมผัสดินและน้ำด้วยเท้าเปล่าเป็นเวลานาน

เมลิออยโดสิส - Melioidosis

โรคใดบ้าง? ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • โรคมะเร็ง
  • ติดเชื้อ เอชไอวี
  • โรคปอด
  • โรคภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรควัณโรค

อาการ ของโรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis)

  • ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บหน้าอก
  • เกิดบาดแผลตามเท้า
  • ไข้ขึ้นสูง
  • ไอหายใจติดขัด
  • มีอาการปวดท้อง
  • เกิดหนอง หรือ ฝีขึ้นตามร่างกาย

อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคลและปริมาณของเชื้อที่ได้รับ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด

การป้องกันโรค เมลิออยโดสิส (Melioidosis)

  • รับประทานอาหารที่สะอาด ไม่มีสารปนเปื้อน และปรุงสุก
  • ดื่มน้ำสะอาดและต้มสุก
  • หลีกเลี่ยงการเหยียบดิน ลุยน้ำ ช่วงฤดูฝน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่ง หากมีฝนตกหรือสภาพอากาศแปรปวน
  • หากเกิดแผลรีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
  • ต้องสวมรองเท้าบูทถุงมือยางเมื่อต้องลุยน้ำหรือจับดิน
  • ห้ามทานยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน
การป้องกันโรค เมลิออยด์ - Prevention of melioidosis

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโดยการเพาะเชื้อแบคทีเรีย จากสิ่งส่งตรวจ ควรได้รับการเพาะเชื้อจากเลือด ปัสสาวะ เสมหะ หนองตามที่ต่างๆ    
  • Melioidosis Ab (titer)

เอกสารอ้างอิง

  1. กุลนารี สิริสาลี และสุดารัตน์ มโนเชี่ยวพินิจ การเจาะเลือด: ผลกระทบต่อคุณคุณภาพงานบริการทางห้องปฏิบัติการชันสูตรโรค พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: เอช ที พีเพรส, 2541.
  2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. ใน: การตรวจวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส. กระทรวงสาธารณสุข; 2552. หน้า 97 – 98.
  3. Heymann DL., Editor, Control of Communicable Diseases Manual 19th Edition, American Association of Public Health, 2008.
  4. Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas,and Bennett’s , editor. Principles and Practice ofInfectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia(USA): Elsevier; 2010 : p.2872-2873.

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page