วิตามิน เค คืออะไร?
วิตามิน เค เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน พบได้ในธรรมชาติ มีอยู่ 2 รูปเเบบ ได้แก่
- วิตามินเค1 หรือ phylloquinone พบได้ใน :ผักใบเขียว มะเขือเทศ และดอกกระหล่ำ
- วิตามินเค2 หรือ menaquinone พบได้ใน เนื้อสัตว์ ตับ ชีส และไข่แดงและจากการสังเคราะห์โดยแบคทีเรียในลำไส้
หน้าที่ของ วิตามินเค
- ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด และป้องกันภาวะเลือดไหลมากจนเกินไป
- มีบทบาทสำคัญในการบำรุงรักษาเนื้อเยื่อกระดูกให้เป็นปกติ : สุขภาพกระดูกดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
ประโยชน์ของวิตามินเค
- ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
- ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
- ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
- ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
อาหารที่มีวิตามินเค1 สูง
- อาหารที่มีวิตามินเค1 สูง ได้แก่ผักใบเขียว ได้แก่ กระหล่ำปลี เคล ผักโขม บรอกโคลี ผักกาดหอม ผักสลัด ผักปวยเล้ง ดอกขจร หน่อไม้ฝรั่ง
- น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา
อาหารที่มีวิตามินเค2 สูง
วิตามินเค2 มักพบในเนื้อสัตว์บางชนิดและอาหารหมักดอง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกิน และพบว่าแบคทีเรียในลำไส้ของเราสามารถผลิตวิตามินเค2 ได้ แต่มักพบว่าไม่เพียงพอ อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเค2 ได้แก่
- นัตโตะ (Natto) นัตโตะเป็นอาหารหมักที่มีวิตามินเค2 สูงมาก
- ไข่ :ไข่เป็นแหล่งวิตามินเค2 ที่ดีพอสมควร
- ชีสบางชนิด ชีสหมัก เช่น Jarlsberg, Edam, Gouda, cheddar และ blue cheese มีวิตามินเค2 ที่เกิดจากแบคทีเรียที่ใช้ในระหว่างการผลิต
ปริมาณการบริโภค วิตามิน เค ในแต่ละวัน
- เพศชาย อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 120 ไมโครกรัม/วัน
- เพศหญิง อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป: 90 ไมโครกรัม/วัน
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี: 75 ไมโครกรัม/วัน
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ที่มีอายุ 19-50 ปี: 90 ไมโครกรัม/วัน
ปัจจัยที่ทำให้ขาดวิตามิน
- อาหารที่บริโภค โดยอาหารที่บริโภคเข้าไปในแต่ละมื้อแต่ละวันอาจมีสารอาหารจำพวกวิตามินน้อยเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่ไหม้ เกรียม ซึ่งจะทำให้มีวิตามินในอาหารน้อยลง และไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึงอาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้สุกนานจนเกินไปก็จะทำให้มีวิตามินน้อยลงด้วยเช่นกัน
- ร่างกายต้องการวิตามินมากขึ้น เช่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ให้นมบุตร รวมถึงผู้ที่ต้องใช้พลังงานมาก อาทิ นักกีฬา ผู้ที่ออกกำลังกายมากกว่าปกติ ในส่วนของคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายขาดวิตามินได้
อาการของการขาดวิตามินเค
- อาการเริ่มแรกของการขาดวิตามิน K คือ การที่มีเลือดออกมาก และช้ำเขียวง่าย เพราะมีอาการของการอุดตันของหลอดเลือด อาการของเลือดออกอาจเริ่มต้นจากการมีเลือดไหลทางเหงือก และเลือดกำเดาออกทางจมูก บางครั้งเลือดอาจจะออกมาจากแผลต่างๆ
- มีอาการปวดประจำเดือนมาก และมีปริมาณเลือดประจำเดือนออกมากกว่าปกติ
- มีอาการเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดในปัสสาวะหรืออุจจาระได้
- มวลกระดูกลดลง
การใช้อาหารเสริม วิตามิน เค
วิตามินเคเสริมอาจอยู่ในรูปวิตามินเคเดี่ยวๆ หรืออยู่ในรูปของวิตามินอื่นๆ ที่รวมอยู่ด้วย เช่น วิตามินดี แคลเซียม หรือแมกนีเซียม
ประเภทของวิตามินเคที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งแต่ละยี่ห้อมีปริมาณต่างกัน ได้แก่:
- วิตามินเค1
- วิตามินเค2 ในรูปแบบ MK-4 หรือ MK-7
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจระดับของวิตามิน เค : Vitamin K จะได้เป็นแนวทางในการเลือกใช้อาหารเสริม