fbpx
จุลินทรีย์ ในลำไส้ Gut Microbiome

จุลินทรีย์ ในลำไส้..ไม่สมดุล เสี่ยงโรค

จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร...ไม่สมดุล เสี่ยงโรค!!

ทำไม? การตรวจสมดุล จุลินทรีย์ ในลำไส้ Gut Microbiome จึงเป็นเรื่องสำคัญ

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากกว่า 100 ล้านล้านเซลล์ แต่เซลล์มนุษย์แท้จริงมีเพียง 30 ล้านเซลล์   ที่เหลืออีกกว่า 100 ล้านล้านเซลล์ เป็นเซลล์ของจุลินทรีย์ หรือจุลชีพ (Microorganism) นอกจากนี้ ปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบในร่างกายมนุษย์ คิดเป็น 1-3% ของมวลร่างกาย และ ปริมาณชิ้นส่วนพันธุกรรม หรือยีน ของจุลินทรีย์เหล่านี้พบได้ถึง 8 ล้านยีน ในขณะยีนของมนุษย์ มีจำนวนเพียง 23,000ยีน  ภาวะไม่สมดุลของจุลชีพเหล่านี้ จึงส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

จุลินทรีย์ (Microorganism) คืออะไร?

จุลินทรีย์ (Microorganism) คือ สิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และอาศัยอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณผิวหนัง ช่องปาก ช่องคลอด และอยู่ที่ระบบทางเดินอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะในลำไส้  (Intestinal tract)

จุลินทรีย์ ประกอบไปด้วย  แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (Viruses) เชื้อรา (Fungi) ปรสิต (Parasites) โดยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) บางชนิดมีส่วนช่วยป้องกันโรค  กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร  และการขับถ่าย บางชนิดช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ชนิดหนึ่ง ช่วยสังเคราะห์วิตามิน B12  ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน  และบางชนิดก็ช่วยย่อยสลายสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ขณะเดียวกันความผิดปกติของร่างกายบางครั้งอาจเกิดจากการที่จุลินทรีย์ขาดสมดุล

ไมโครไบโอม (Microbiome) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?

ไมโครไบโอม (Microbiome) คือ ยีน หรือ รหัสพันธุกรรมของจุลินทรีย์ เพื่อบ่งบอกชนิด จำนวน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และอวัยวะในร่างกายมนุษย์ที่จุลินทรีย์เหล่านั้นอาศัยอยู่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งการทำนายโรค การเลือกวิธีรักษา รวมถึงการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่ลักษณะและชนิดของจุลินทรีย์ที่พบในแต่ละบุคคลก็จะมีความเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้นๆ เพราะชนิดของไมโครไบโอม เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ประวัติการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อ และการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมต่างๆกัน

จุลินทรีย์ ในลำไส้ Gut Microbiome

จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)

จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร หมายถึงจุลชีพต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารของเรา ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความหลากหลายของเชื้อจุลชีพมากที่สุดในร่างกาย ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน หอบหืด เบาหวาน มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคหัวใจ และส่งผลต่อการนอนหลับ อารมณ์ ความตื่นกลัว และพฤติกรรมต่างๆ การตอบสนองของยา

ประโยชน์ของ จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร

จุลินทรีย์ที่หลากหลายและมีจำนวนที่แตกต่างกัน  ส่งผลทำให้มีบทบาทที่สำคัญแตกต่างกัน เเละจุลินทรีย์ เเบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายหรือก่อโรค (Harmful/Pathogenic) ทำให้เกิดโรคได้โดยการสร้างสารพิษภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น
    • เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงโรคแผลกระเพาะอาหาร เนื้องอก และมะเร็งในกระเพาะอาหาร
    • จุลชีพบริเวณลำไส้ใหญ่บางชนิด หรือ แบคทีเรียในลําไส้ ก็มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง รวมถึงการส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
  1. จุลินทรีย์กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting function) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายต้องการ เช่น
    • Lactobacillus ช่วยยับยั้งและป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคเจริญเติบโต
    • Eubacteria / Bifidobacteria ช่วยสังเคราะห์สารอาหารที่ร่างกายต้องการ เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยช่วยในการย่อยอาหารหรือการดูดซึมสารอาหาร  

ความไม่สมดุลของ จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

  • อารมณ์แปรปรวน  
  • ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
  • ภาวะอ้วน (อ่านบทความ โรคอ้วนลงพุง คลิกที่นี้)
  • โรคผิวหนัง เช่น กลาก
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคเบาหวาน (อ่านบทความ โรคเบาหวาน คลิกที่นี้)
  • มะเร็ง
  • โรคตับ
  • โรคหอบหืด
  • ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ
อาการ หรือ สัญญาณเตือน หาก จุลินทรีย์ ในสำไส้ไม่สมดุล

สัญญาณเตือน ว่า อาจมีปัญหาสมดุล จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

  • มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ
  • เป็นสิวอักเสบ
  • ผู้ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
  • เป็นหอบหืด
  • มีระบบการเผาผลาญไม่ดี
  • มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอัลไซเมอร์
  • มีกลิ่นปาก  
  • มีเมือกในอุจจาระ  
  • รับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  • ภาวะแพ้คาร์โบไฮเดรต
  • เหนื่อยล้าหมดแรง
  • ใช้ยาลดกรด เป็นประจำ
  • คัดจมูก

ถ้ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อ หรือมากกว่า อาจมีภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย

การตรวจสมดุล จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)

          คือการตรวจความสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดีและไม่ดีในร่างกาย ผ่านตัวอย่างอุจจาระที่นำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยให้ทราบได้ว่า 

  • ในร่างกายเรามีความหนาแน่น (Density) ของจุลินทรีย์เป็นอย่างไร และมีปริมาณและความหลากหลายของจุลินทรีย์เพียงพอหรือไม่
  • จุลินทรีย์ในร่างกายมีความสมดุลหรือไม่
  • จุลินทรีย์ที่พบมีผลต่อร่างกายอย่างไร

          หากตรวจพบความหนาแน่น ความหลากหลาย และประโยชน์ของจุลินทรีย์อยู่ในสถานะขาดสมดุล จะส่งผลให้มีความเสี่ยงการเกิดโรคมากกว่ากับผู้ที่มีจุลินทรีย์อยู่ในสภาวะสมดุล การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงการเกิดโรค รวมถึงวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่อาจเกิดจากการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารได้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรควิตกกังวล ไมเกรน

Next Generation Sequencing (NGS)

การตรวจด้วยเทคนิค Next Generation Sequencing (NGS) ดีอย่างไร

  • สามารถวิเคราะห์จุลินทรีย์ ได้ตั้งแต่ระดับสายพันธุ์ (Species) มากกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพในอนาคต
  • สามารถเปรียบเทียบอัตราส่วน ระหว่างแบคทีเรียก่อโรคกับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ได้ว่ามีอัตราส่วนอย่างไรและเป็นจุลินทรีย์ชนิดใด
  • สามารถวิเคราะห์ผลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงได้ 9 โรค ได้แก่ โรคอ้วน โรคลำไส้แปรปรวน เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเนื้อสัตว์ ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ โรคซึมเศร้า โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ  

การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)

  • ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ
  • งดยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3 วันก่อนตรวจ  

ข้อแนะนำในการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร

  • แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ไม่มีสารพิษปนเปื้อน
  • ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
  • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์สูง เช่น โยเกิร์ต ชีส นมเปรี้ยว และไฟเบอร์จากผักหรือผลไม้
  • รวมถึงการเข้ารับการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถตรวจซ้ำได้ทุกๆ 6 เดือนหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำ เนื่องจากรูปแบบของจุลินทรีย์อาจมีการเปลี่ยนไปได้ตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง 

โปรแกรม ตรวจความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ <<คลิกที่นี้เพื่อดูรายละเอียด>>

ข้อแนะนำในการรักษาสมดุลของ จุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page