ไข้ ชิคุนกุนย่า (Chikungunya) หรือเป็น โรคที่มียุงเป็นพาหะ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ซิก้า แต่มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกันไปในการช่วยแยกโรคหากสงสัยควรได้รับการตรวจวินิจฉัย
การติดต่อโรค ชิคุนกุนย่า
ชิคุนกุนย่า เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา เป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในเมืองใหญ่และชนบท มักระบาดในช่วงฤดูฝน หรือ บริเวณที่มีน้ำขัง ทั้งนี้ยุงลายมักชุกชุมและออกหากินช่วงกลางวัน ทำให้เด็กๆ ที่ชอบออกมาเล่นนอกบ้านหรืออยู่ในโรงเรียน เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค นอกจากนี้แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยายังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้อีกด้วย
อาการของโรค ชิคุนกุนย่า
เนื่องจากโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยามียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน รวมถึงอาการที่แสดงออกยังคล้ายคลึงกัน จึงอาจพบผู้ป่วยเป็นทั้ง 2 โรคพร้อมๆ กันได้
อาการที่แตกต่างระหว่างโรคชิคุนกุนย่าและไข้เลือดออก
โรคไข้ ชิคุนกุนย่า
- เชื้อชิคุนกุนย่ามีระยะฟักตัวของโรค 3-7 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด
- ไข้สูงเฉียบพลัน และอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หลังจากนั้น 2-3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
- ตาแดง มีผื่นแดง
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำ จนเลือดออก
โรคไข้เลือดออก
- ไข้เลือดออกมีระยะฟักตัวของโรค 5-8 วัน หลังจากถูกยุงลายกัด
- ไข้สูงลอย
- ผื่นแดงจำนวนมาก
- ปวดเมื่อยน้อยกว่า
- เกล็ดเลือดต่ำ-มีเลือดออก
การป้องกันไข้ชิคุนกุนย่า
- รักษาความสะอาดของบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
- ปลูกต้นไม้หรือจัดสวนให้โปร่งโล่ง ให้แสงแดดส่อง
- นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
- ช่วงที่มีการระบาดของยุงลาย ควรใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รวมถึงทายากันยุง แม้จะเป็นเวลากลางวันก็ตาม
การตรวจวินิจฉัยไข้ชิคุนกุนย่า
สามารถเจาะเลือดตรวจหาสารพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีไข้ในช่วง 2-4 วันแรก หรือตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี