เราทุกคนต่างก็อยากหุ่นดี แต่การจะออกกำลังกาย หรือ ควบคุมการรับประทานอาหาร หรือ แม้ว่าจะทำทั้ง 2 อย่างแล้วแต่ยังเห็นผลลัพธ์ช้าหรือไม่เห็นผลลัพธ์เลย แต่ไม่ต้องกังวล เพราะมีอีกหนึ่งเคล็ดลับที่สำคัญที่ช่วย ลดน้ำหนัก ได้ดี นั่นคือการ นอนหลับดี พักผ่อนอย่างเพียงพอ และ มีคุณภาพ
จากหลายงานวิจัยที่พบว่า คนที่อดนอน หรือนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือทำจนเป็นนิสัย จะมีความอยากอาหาร ของหวาน และกินจุบจิบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มแคลลอรี่ส่วนเกิน และความอ้วนในที่สุด เพราะการนอนหลับเพียงพอส่งผลต่อ
- ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่ง ควบคุมความหิว และ ฮอร์โมนเกรลินจะถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร เพื่อเป็นสัญญาณส่งไปที่สมองว่า ‘หิวแล้ว’
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) จะถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ไขมัน ซึ่งมีหน้าที่ช่วยลดความรู้สึกหิว ความอยากอาหาร และเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสมองว่า ‘อิ่มแล้ว’ นั่นเอง
ดังนั้นเมื่อร่างกายของเรานอนพักผ่อนไม่พอ ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนเกรลินออกมากมากขึ้น และปล่อยเลปตินได้น้อยลง ทำให้หิวง่าย ต้องหาอะไรทานอยู่เรื่อยๆ
การนอนหลับ อย่างมีคุณภาพ ช่วย ลดน้ำหนัก ได้อย่างไร สงสัยกันไหม?
- เพราะการนอนไม่พอ เป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคอ้วน เพราะการนอนหลับไม่เพียงพออาจส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายและน้ำหนักตัว (BMI) สูงกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- เพราะเมื่อเรานอน เราจะหยุดกิน เพราะเราไม่สามารถกินอาหารขณะที่กำลังนอนหลับอยู่ได้ ฉะนั้นยิ่งเรานอนเยอะ ก็จะยิ่งลดโอกาสในการกินมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะมื้อดึกตัวร้าย ที่เป็นอันตรายต่อน้ำหนักตัวทั้งหลาย นอกจากนี้ การนอนไม่พอนั้น ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เรามีโอกาสที่จะตัดสินใจเลือกหนทางที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การทานมื้อดึก หรือการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และอาหารต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากขึ้น เพราะสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจ ทำงานได้ช้าลงเนื่องจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองจึงพยายามหาตัวกระตุ้นสมอง ซึ่งก็คือน้ำตาล
- เพราะการนอนไม่พอ จะทำให้เราหิวบ่อยขึ้น เนื่องจากเมื่อเราขาดการนอนหลับ ร่างกายของเราก็จะผลิต
- ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งสัญญาณความหิวไปยังสมองเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ฮอร์โมนที่ช่วยกดความรู้สึกหิวและทำให้เรารู้สึกอิ่มจะผลิตออกมาน้อยลง จึงส่งผลให้เรารู้สึกหิวมากขึ้นและหิวบ่อยขึ้น
- เพราะการนอน อาจส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญพลังงาน :เมื่อร่างกายเราเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง ก็จะทำให้เราสะสมแคลอรี่ไว้มากขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
- เพราะการนอน ทำให้เรามีแรงออกกำลังกายมากขึ้น เพราะทำให้เรารู้สึกกระฉับกระเฉง มีเรี่ยวแรงในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย
เอกสารอ้างอิง
Schmid SM, Hallschmid M, Jauch-Chara K, et al. A single night of sleep deprivation increases ghrelin levels and feelings of hunger in normal-weight healthy men. J Sleep Res. 2008;17:331–334
Morselli L, Leproult R, Balbo M, Spiegel K. Role of sleep duration in the regulation of glucose metabolism and appetite. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab. 2010;24:687–702.
Spiegel K, Tasali E, Leproult R, et al. Twenty-four-hour profiles of acylated and total ghrelin: relationship with glucose levels and impact of time of day and sleep. J Clin Endocrinol Metab. 2011;96:486–493.