โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)
โรคฉี่หนู หรือ โรค เลปโตสไปโรซิส เป็นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน (Zoonotic Disease) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วัน หรืออยู่ในช่วง 4-19 วัน (อาจเร็วภายใน 2 วัน หรือนานถึง 26 วัน)
การติดต่อของ โรคฉี่หนู
เชื้อจะถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ และปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น หรือพืช ผัก เชื้อสามารถไชเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก นอกจากนี้ยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังปกติที่อ่อนนุ่มเนื่องจากแช่น้ำอยู่นาน คนมักติดเชื้อโดยอ้อมขณะย่ำดินโคลน แช่น้ำท่วมหรือว่ายน้ำ หรืออาจติดโรคโดยตรงจากการสัมผัสเชื้อในปัสสาวะสัตว์หรือเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ
อาการ ของ โรคฉี่หนู
- ไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น
- ปวดศรีษะ
- ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง (มักปวดที่น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลังและน่อง)
- ตาแดง มีผื่นที่เพดานปาก (palatal exanthema)
- มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ
- เจ็บคอ เจ็บหน้าอก
- ไอมีเสมหะ อาจมีเลือดปน (hemoptysis)
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ตับโต ม้ามโต
อาการมักเป็นหลายอย่างๆ ร่วมกัน ไม่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง คล้ายๆ กับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้ไทฟัส (ไข้รากสาดใหญ่) ซึ่งอาการระยะแรกนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วอาการจะดีขึ้น
การป้องกัน โรคฉี่หนู
- หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ การสัมผัสน้ำ หรือลุยน้ำ ที่อาจมีเชื้อโรคไข้ฉี่หนูปนเปื้อนอยู่
- หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ หรือ ทำงานในน้ำ ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง แล้วรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสบู่และเช็ดให้แห้ง
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใส่ภาชนะมิดชิด ควรล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนนำมารับประทาน
- กำจัดขยะ แหล่งที่อยู่อาศัยของหนู
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- Leptospira Ab for IgM and IgG
- Leptospira titer (IFA)