fbpx
อ้วนลงพุง เสี่ยงโรคร้าย

เสี่ยงโรคร้าย หากปล่อยให้ อ้วนลงพุง

โรค อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome)

หากเราปล่อยให้  “อ้วนลงพุง” จะมีโรคอะไรตามมา?

          เพราะโรคอ้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมามากมาย การรู้เท่าทันโรคอ้วน ไม่ปล่อยตัวเองให้มีตัวเลขน้ำหนักพุ่งไปไกลเกินเกณฑ์จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่อาจจะเกิดตามมาได้  ดังนั้นเราจึงควบคุมน้ำหนักและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เพื่อควบคุมปริมาณไขมัน ทั้ง ไตรกลีเซอไรด์ เเละ คลอเรสเตอรอล ให้อยู่ในระดับที่ปกติ จะช่วยให้เราห่างไกล โรคอ้วนลงพุง พร้อมมีสุขภาพดีได้ในทุกช่วงวัยของชีวิต

โรคอ้วนลงพุง หรือ เมตาบอลิกซินโดรม

         โรคอ้วนลงพุง คือ ภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอว ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีไขมัน(ไตรกลีเซอร์ไร)สะสมในช่องท้องที่มากเกินไป ซึ่งไขมันที่สะสมนี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดเป็น “ภาวะอ้วนลงพุง” และเป็นสาเหตุของโรคเเทรกซ้อนจำพวก โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต่างๆ (NCDs)

(อ่านบทความเกี่ยวกับ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs คลิกที่นี้)

        Metabolic syndrome หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคนี้สมัยก่อนเรียกว่า Syndrome X หรือ insulin resistance syndrome

สาเหตุของโรค อ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)

  1. การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูง เกินความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะ กลุ่มที่เป็นเเป้ง เเละ น้ำตาล
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่
  3. กรรมพันธุ์

  4. ภาวะเป็นโรค เช่น โรคต่อมไร้ท่อ หรือ กลุ่มอาการคุชชิ่ง
  5. การบริโภคยาบางชนิด ที่มีผลเพิ่มน้ำหนักตัว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์

สาเหตุของโรค อ้วนลงพุง Metabolic syndrome

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

  • อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาสเป็นสูง ผู้ที่มีอายุ 20พบภาวะนี้เพียง 10% คนที่อายุ 60 มีอัตราการเกิดร้อยละ 40
  • เชื้อชาติ (คนผิวดำจะมีโอกาสมากกว่าปกติ)
  • คนอ้วนจะมีโอกาสมากกว่าคนผอม
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัว เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสสูง
  • โรคอื่นๆ เช่นความดันโลหิต

วิธีวัด โรคอ้วนลงพุง เบื้องต้น

  • วิธีวัดเส้นรอบเอว: ควรวัดในลักษณะท่ายืนตรง หายใจออก และควรวัดช่วงเช้าก่อนการกินอาหาร โดยผู้ชายควรมีรอบเอวไม่เกิน 90 ซม. หรือ 35.4 นิ้ว ส่วนผู้หญิงควรมีรอบเอวไม่เกิน 80 ซม. หรือ 31.5 นิ้ว
  • การวัดจากดัชนีมวลกาย (BMI): เป็นวิธีที่นิยม
    • [ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) /ส่วนสูง (เมตร)]
    • ค่าดัชนีมวลกาย : มากกว่า 25 (เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนลงพุง)
วิธีวัดโรค อ้วนลงพุง เบื้องต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

ผู้ชายวัดรอบเอวได้มากกว่า 90 ซม. และผู้หญิงวัดรอบเอวได้มากกว่า 80 ซม. ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 อย่างต่อไปนี้

  1. ความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป.
  2. น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร มากกว่า 100 mg/dl
  3. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride)มากกว่า 150  mg/dl
  4. ระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอล(HDL)
    • สำหรับผู้ชาย  HDL < 40   mg/dl
    • สำหรับผู้หญิง   HDL < 50  mg/dl

ผลร้ายจากอ้วนลงพุง

หากตกอยู่ในภาวะอ้วนลงพุงจะส่งผลเสียกับร่างกาย ได้แก่

  • โรคอ้วน ไขมันอุดตัน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันเกาะตับ มะเร็ง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม หยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) โรคผิวหนัง เชื้อรา เส้นเลือดขอด

  • รอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 เซนติเมตร จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานได้มาก 3 – 5 เท่า

การป้องกันไม่ให้ อ้วนลงพุง

  1. การควบคุมน้ำหนัก
    • ควบคุมอาหาร หลีกลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง และลดสัดส่วนอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ

    • รับประทานอาหารจำพวกเเป้งเเละน้ำตาลให้น้อยลง เพราะเเป้งเเละน้ำตาลเป็นภัยร้ายในการทำให้เพิ่มไขมันชนิด ไตรกลีเซอร์ไรด์

    • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก หรือ ผลไม้

  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และ 3 ครั้ง/สัปดาห์

  3. ควบคุมระดับไขมัน โดยการตรวจเช็คระดับไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)

ดูค่าอัตราส่วน :

    • Triglyceride: HDL <2

    •  LDL: HDL <3

เมื่อรู้ตัวว่าอ้วนลงพุงเเล้ว ต้องมีเป้าหมายคือ

  • ควบคุมน้ำหนักตัว โดยปรับพฤติกรรมการกิน และเพิ่มการออกกำลังกาย
  • ลดระดับไขมัน Triglycerideและไขมันเลว (LDL) ร่วมกับ เพิ่มระดับไขมันดี (HDL)

การตระหนักรู้และดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วนคือสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่ตัวเลขบนตราชั่ง แต่นี่คือการที่เรามีสุขภาพดีในระยะยาว

การป้องกันไม่ให้ อ้วนลงพุง Preventing abdominal obesity

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page