fbpx
ภาวะเครียด - Stress

ภาวะ เครียด มีผลอย่างไรต่อร่างกาย?

ภาวะ เครียด เกิดขึ้นเเล้ว มีผลอย่างไรต่อร่างกาย?

          ความ เครียด เป็นภาวะของอารมณ์เเละความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเเละพบได้ทุกวัน เมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ วุ่นวายใจ มีความกลัวหรือวิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้นหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการที่ปรากฏก็เป็นเพียงทางกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันมีไม่กี่คนที่จะทราบว่าตัวเราเองได้รับความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์

สาเหตุของภาวะ เครียด

   ความเครียดเกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย นั่นคือ

  • ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องงาน เรื่องเรียน ปัญหาชีวิตส่วนตัว ปัญหาการเงิน การย้ายบ้าน เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน โดยที่บางคนมีนิสัยคิดมาก ชอบวิตกกังวลในเรื่องเล็กน้อย หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุลทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าง่าย
สาเหตุ ความเครียด - Causes of stress

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด ความ เครียด

  • กรรมพันธุ์ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่าย หรือพ่อแม่มีนิสัยเครียด กังวลง่าย ทำให้พฤติกรรมดังกล่าวถ่ายทอดไปสู่ลูก
  • สภาพแวดล้อมที่เครียด และกดดัน เช่น ทำงานที่มีความแข่งขันสูง ทำให้พนักงานเครียด หรือมีปัญหาในครอบครัว
  • อายุที่เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดได้ง่าย คือวัยที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน เช่น จากเด็กไปสู่วัยรุ่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน มีการปรับตัวในสังคม และในช่วงของ วัยใกล้หมดประจำเดือน(menopause) ของผู้หญิง รวมถึงผู้ชายวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ถึงแม้อาการน้อยกว่าผู้หญิง แต่ก็ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวลและโกรธง่ายเช่นกัน

ประเภทของความ เครียด

ความเครียดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • Acute stress คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีจากความกดดันในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น กำหนดการในการทำงาน การเผชิญหน้ากับความท้าทาย หรือเหตุการณ์ที่ทำให้สะเทือนใจ เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
  • Episodic acute stress คือ เกิดจากการประสบกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีหลายครั้งติดต่อกัน เช่น เริ่มจากมีปัญหาสุขภาพ หลังจากนั้นตกงาน ตามมาด้วยการหย่าร้าง เป็นต้น หรือบางคนชอบเครียดและวิตกกังวลจนรีบเร่งและใจร้อนในทุกเรื่อง ทำให้เกิดความเครียดบ่อยๆ
  • Chronic stress คือ ความวิตกกังวลและความกดดันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนไม่มีวันสิ้นสุดจนสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ความเครียดเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด

  • โรคทางเดินอาหาร
  • โรคปวดศีรษะไมเกรน
  • โรคปวดหลัง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหัวใจ
  • ตับอักเสบจากการติดสุรา
  • ถุงลมโป่งพองจากการติดบุหรี่
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคหอบหืด
  • ภูมิคุ้มกันต่ำลง
  • เป็นหวัดง่าย
  • มะเร็ง
โรคที่เกิดจากความ เครียด - Physical diseases caused by stress

ภาวะความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร

     ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป ฮอร์โมนที่มีความสำพันธ์กับความเครียด ได้เเก่

1. ฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol)

          คอร์ติซอล คือ สเตียรอยด์ ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้เป็นฮอร์โมนความเครียดหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น ถ้าหากร่างกายมีความเครียดสะสม ต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลออกมามากเกินไป เกิดผลเสียคือกระตุ้นให้เกิดการสลายตัวของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ต่อมหมวกไตต้องดึงเอาฮอร์โมนอื่นๆ ทั้งฮอร์โมนต้านเครียด (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone, Testosterone) มาใช้สังเคราะห์เป็นคอร์ติซอลจนหมด เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน ทำให้ร่างกายอ่อนล้า หรือเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue)

เมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง จะจัดการอย่างไรดี?

  • จัดการกับความเครียด (Stress Management) โดยการหากิจกรรมคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นโยคะ การนวด หรือการบำบัด โดยใช้คลื่นเสียง (Sound Healing)
  • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสร ะ เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา
  • ลดความเครียดทางร่างกาย
    • หลีกเลี่ยงสารพิษ เนื่องจากสามารถทำให้ร่างกายอักเสบและนำไปสู่ความเครียดได้
    • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆได้ (Calming Exercise) หรือ การออกกำลังกายที่ใช้พลังงานต่ำหรือ Low-intensity workouts เช่น การวิ่ง จ๊อคกิ้ง (Jogging) หรือการออกกำลังกายที่เรายังสามารถพูดคุยได้ตามปกติขณะออกกำลังกาย

2. ฮอร์โมน Dyhydroepiandrosterone (DHEAs)

         DHEA คือ ฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Pre-sex hormones) และยังเป็น ฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti-stress hormones) ช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ทั้งนี้ DHEAs เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อาทิ เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมน DHEAs อยู่ในระดับต่ำ

  • ลดความเครียดทางจิตใจ
  • ลดความเครียดทางร่างกาย (ไม่ควร ออกกำลังกายหนัก และ ทานอาหารที่มีสารพิษ)
  • หลีกเลี่ยงการทานกาแฟ
  • หลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (ก่อน 4 ทุ่ม)
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ (แนะนำให้ทานตาม Canada Food Diet)
  • กินวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอ
  • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการทานแป้งขัดสี ควรรับประทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีเส้นใยสูง
How to manage DHEAs when levels are low

เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนคอร์ติซอล และ DHEA ไม่สมดุล นำไปสู่ภาวะต่อมหมวกไตล้า

ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นภาวะที่ต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนในลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ฮอร์โมนต้านความเครียดและฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับเกลือเเร่ (Aldersterone hormone) ฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว (Cortisol hormone) ทำงานน้อยลง ทำให้การสร้างฮอร์โมนต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม

ในการวินิจฉัย ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะต้องมีวัดระดับของฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal hormones) 2 ชนิด ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด ในปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล

อาการต่อมหมวกไตล้า

         ภาวะ “ต่อมหมวกไตล้า” เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น หากพบอาการผิดปกติที่ตรงกับ อาการแสดงด้านล่างอย่างน้อย 5 ข้อ อาจกำลังเผชิญกับภาวะต่อมหมวกไตล้า

  • มีปัญหากับการตื่นนอนตอนเช้า
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
  • ง่วงแต่นอนไม่หลับ
  • มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
  • อยากรับประทานอาหารรสหวาน หรือรสเค็ม
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • ปวดประจำเดือนบ่อย
  • เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ท้องผูก
  • เครียด ซึมเศร้า
  • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
  • รู้สึกสดชื่นทันที เมื่อได้รับประทานน้ำตาล หรือขนมหวาน
  • ผิวแห้งและแพ้ง่าย

ดูเเลสุขภาพ ตรวจเช็คภาวะเครียดสะสม  เรามีโปรเเกรมตรวจเช็คภาวะเครียด คลิกที่นี่

References

  • The Hormone Handbook by Thierry Hertoghe, MD. 2006
  • Canada food guide diet.
  • ทำความรู้จักกับคอร์ติซอล ฮอร์โมนสำคัญของร่างกาย. (2022). Retrieved from Pobpad: pobpad.com
  • DHEAs ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนต้านความเครียด แต่ช่วยชี้วัดสุขภาพของคุณได้. (2021, December 27). Retrieved from Phayathai hospital: phyathai.com
  • 8 ฮอร์โมนสำคัญของร่างกายที่ต้องทำความรู้จักและรับมือให้เป็น. (2021, January 1). Retrieved from Phayathai hospital: phyathai.com
  • คุณกำลังเสพติด ความเครียดอยู่หรือเปล่า. (2020, April). Retrieved from Bangkok hospital: bangkokhospital.com
  • Stress Hormone. (2020). Retrieved from Medtopia: medtopiaclinic.com
อาการหมวกไตล้า - Symptoms of adrenal fatigue

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page