Probiotic and Prebiotic

Probiotic กับ Prebiotic สำคัญอย่างไร?

Probiotic กับ Prebiotic สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี

การเลือกอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เลือกทานอาหารย่อยง่ายและผ่านการปรุงสุกใหม่ และการทานอาหารให้ตรงเวลาเเล้ว การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชื่อว่า “ Probiotic ” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยดูแลระบบทางเดินอาหารของเราได้ ซึ่งไม่เพียงแค่ Probiotic ที่เราควรทำความรู้จัก แต่ยังมี Prebiotic คู่หูตัวสำคัญ…และสุดฮิต ในการดูแลสุขภาพทางเดินอาหารของเราทุกคน

Probiotic กับ Prebiotic แค่ชื่อคล้าย… แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

ถ้าพูดถึง Probiotic สำหรับบางคนก็อาจจะพอเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่เมื่อเจอคำว่า “Prebiotic” หลายคนก็อาจสับสนและเข้าใจว่าอาจเป็นชื่อเรียกของสิ่งๆ เดียวกัน ความหมายเหมือนกัน

Probiotic and Prebiotic

โปรไบโอติก (Probiotics) คืออะไร ?

Probiotics เป็นสิ่งมีชีวิต เเละเป็นชื่อเรียกของจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ที่เป็นเเบคทีเรียที่ดีประจำถิ่น (normal flora) ที่มีหน้าที่ช่วยย่อยเเละปกป้องดูเเละระบบย่อยอาหารของเรา (การผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์)  นอกจาก โพรไบโอติก จะมีอยู่ในร่างกายเราอยู่แล้ว ยังสามารถพบได้ในอาหารบางชนิดเช่น ของหมักดอง  อาหารเสริม

พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร ?

Prebiotic เป็นสิ่งไม่มีชีวิตที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก จึงถูกส่งต่อไปยัง (ลำไส้ใหญ่… และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Probiotic หรือจะให้พูดง่ายๆ ก็คือ Prebiotic เป็นอาหารของ Probiotic ที่มีส่วนช่วยให้ Probiotic เติบโตได้ดี พบได้ในอาหารจำพวก คาร์โบไฮเดรต ประเภทใยอาหาร (Fibers)

Prebiotics ควรทานคู่กันกับ Prebiotic

Prebiotics เป็นอาหารดีที่มีประโยชน์สำหรับ Probiotic ทำให้สองอย่างนี้ควรถูกเติมเข้าไปในร่างกายพร้อมๆ กัน เพื่อให้ Probiotic ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาหารกลุ่มที่พบ Probiotic ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ก็เช่น นม โยเกิร์ต หรือผักดอง ส่วนอาหารกลุ่มที่มี Prebiotic สูง ก็ เช่น กระเทียม กะหล่ำปลี อะโวคาโด และ กล้วย

Probiotics จุลินทรีย์ ชนิดนี้…ดีต่อ ระบบทางเดินอาหาร อย่างไร?

  • แก้ไขปัญหา ระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โรคอุจจาระร่วง ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน หรือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผลเรื้อรัง

  • ช่วยผลิตวิตามิน K และ กรดไขมัน สายสั้น

  • กระตุ้น ระบบย่อยอาหาร โดยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด
  • ช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก ป้องกันฟันผุ
  • ป้องกันโรคภูมิแพ้ มีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุล
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
Probiotics

ทานอะไรดีเพิ่มโปรไบโอติก ??

  • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ นมเปรี้ยว : เเนะนำโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติกระบุที่ฉลากผลิตภัณฑ์ชัดเจน เช่น Active Probiotics,Live biopics  โปรไบโอติกสายพันธ์ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร เช่น เเลคโตบาซิลันบิฟิโดเเบคทีเรี่ยม
  • คีเฟอร์ (kefir) คือ นมหมัก ประเภทเดียวกับ โยเกิร์ต เเต่ใช้จุลินทรีย์ที่หมักต่างกัน มี โปรไบโอติก เช่นเดียวกับโยเกิร์ต
  • กิมจิ ผักดอง :เมื่อนำผักไปหมักไปดองได้ระยะหนึ่ง จะก่อให้เกิดจุลินทรีย์โปรไบโอติก
  • ชาหมัก
  • นัตโต๊ะ (Natto) ถั่วนัตโตะ  หรือ ถั่วเน่าญี่ปุ่น ถือเป็นเเหล่งโปรไบโอติก ช่วยป้องกันโรคหัวใจเเละกระดูกพรุน
  • ซีสบางประเภท สังเกตุซีสที่มีไบโอติกง่ายๆ คือต้องระบุไว้ว่า Live culture หรือ  active culture เช่น มอสซาเราล่าเซดด้า คอทเทจ
  • Dark chocolate จะพบโปรไบโอติกสายพันธ์เเลคโตบาซิลันบิฟิโดเเบคทีเรี่ยม

Prebiotics ในอาหาร อะไรบ้าง?

พบได้ในอาหารที่มีไฟเบอร์(Fiber)สูง เช่น

  • กล้วย
  • ผลไมตระกูลเบอร์รี่
  • ข้าวโอ๊ต
  • ถั่ว
  • กระเทียม
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • หัวหอม
  • ต้นหอม
biotic food

ระบบทางเดินอาหารก็มีความสำคัญไม่แพ้ระบบอื่นๆ ของร่างกาย เราจึงควรใส่ใจดูแลตั้งแต่ตอนยังปกติดีอยู่ เพราะหากละเลยจนเกิดความผิดปกติขึ้น อย่าลืมนะว่าเรามองไม่เห็นสุขภาพภายใน กว่าจะทันรู้ตัว…ก็อาจรุนแรงและสายเกินจะรักษาได้ทัน

อ้างอิง

  • Department of Gastroenterology. “Prebiotic diet – FAQs” [Online]. Available from: monash.edu
  • ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์. “Probiotics, Prebiotics, and Synbiotics and Human Health.” วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 40, 1-3 (2563): 107-110.

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page