มะเร็งปอด หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรโลกและคนไทย
มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และพบในผู้หญิงเป็นอันดับ 3 โดยส่วนมากผู้ป่วยโรค มะเร็งปอด จะไม่ค่อยมีอาการแสดงในระยะแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอด สามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
มะเร็งปอด เกิดจากอะไร?
- มะเร็งปอด ชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : เซลล์เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตรวดเร็ว ซึ่งพบได้ 10 – 25%
- มะเร็งปอด ชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) : แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัด หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ พบได้ประมาณ 75– 90%
ระยะของ มะเร็งปอด
ระยะของ มะเร็งปอด ชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ
- ระยะที่ 1 ระยะจำกัด (Limited Stage) พบเซลล์มะเร็งอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวเท่านั้น
- ระยะที่ 2 ระยะลุกลาม (Extensive Stage) เซลล์มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือกระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะของ มะเร็งปอด ชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 เป็น ระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงความผิดปกติออกมา
- ระยะที่ 2 พบ มะเร็ง มีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด โดยในระยะที่ 1 และ 2 เป็นระยะที่สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกจากร่างกาย
- ระยะที่ 3 พบ มะเร็ง แพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่นๆ หรือลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้นๆ
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งกระจายตัวไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไต และ สมอง เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด มะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่ : ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด ร้อยละ 80 – 90 % รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากถึง 10 เท่า ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- ควันบุหรี่มือสอง : แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
- การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง : การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
- สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ : จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความร้อยแรงเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่
- พันธุกรรม : แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็น ปอดติดชื้อบ่อย มะเร็งปอดตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งสมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
อาการของ มะเร็งปอด
โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้วมักมีอาการ ดังเช่น
- ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด
- หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บหน้าอกตลอดเวลา
- เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด อาจมีภาวะกลืนอาหารลำบาก
- มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง
การป้องกัน มะเร็งปอด
- หยุดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มลพิษทางอากาศสูง เช่น ฝุ่น PM 2.5
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำทุกปี
- ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
คุณกำลังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่หรือไม่?!
- สูบบุหรี่จัด มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังหยุดสูบไม่ถึง 15 ปี
- คนในครอบครัวสูบบุหรี่
- มีโอกาสได้รับควันบุหรี่มือสอง
- ทำงานใกล้ชิดกับสารเคมี หรือสารก่อมะเร็ง
- สัมผัสฝุ่นควันหรือมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งปอด
หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดและหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
การตรวจเลือด เพื่อ ตรวจหาความเสี่ยงโรค มะเร็งปอด
- CYFRA 21-1
- NSE
- CEA