โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) หรือภาวะที่ไตทำงานได้ลดลง โดยดูจากค่าอัตรากรองของไตที่ผิดปกติ โดยระยะเริ่มแรกมักไม่พบอาการที่ผิดปกติ ทำให้ไม่ทราบถ้าไม่ได้ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ ซึ่งสามารถสามารถตรวจได้ 2 แบบ Cystatin C และ Creatinine และบทความนี้จะบอกเกี่ยวกับ Cystatin C ว่าดีกว่าอย่างไร?
Cystatin C คืออะไร?
Cystatin C คือ โปรตีนในเลือดที่ถูกกรองโดยไตและทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดการทำงานของไต พบได้ทั้งในเนื้อเยื่อและของเหลวต่างๆ ในร่างกาย
หน้าที่ของ Cystatin C
มีหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) จากการทำลายโดยเอนไซม์ที่ทำงานภายในเซลล์ต่างๆ และมีบทบาท ในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
Cystatin C เกี่ยวข้องกับการตรวจโรคไตเรื้อรังได้อย่างไร
ในคนปกติ Cystatin C จะถูกปล่อยสู่กระแสเลือดในปริมาณคงที่และถูกกรองผ่าน glomerulus โดยจะไม่กลับเข้าไปในกระแสเลือดอีก หากความสามารถในการทำงานของไตและการกรองของ glomerulus ลดลง ระดับ Cystatin C ในเลือดจะสูงขึ้น หรือบอกได้ว่าการทำงานของไตแย่ลงนั่นเอง
เปรียบเทียบการตรวจค่า Cystatin C และ Creatinine
สำหรับประเมินโรคไตในระยะเริ่มต้น Cystatin C เป็น marker ที่ดีกว่า Creatinine โดยมีความแม่นยำและมีความไวในทางคลินิกต่อการตรวจการทำงานของไต และมีความสัมพันธ์ กับ eGFR (estimated Glomerular Filtration Rate ) มากกว่า Creatinine เพราะ Creatinine มีปัจจัยรบกวนจากมวลกล้ามเนื้อ การดื่มน้ำ อาหารบางชนิดที่มีโปรตีนสูง อาหารเสริม ยาบางชนิด ส่งผลต่อค่า Creatinine ได้ และทำให้ค่า eGFR ที่คำนวณได้มีความความแม่นยำในการประเมินโรคไตเรื้อรังลดลง ค่า Cystatin C มีปัจจัยรบกวนรบกวนน้อยกว่า เช่น โรคอ้วน มีการอักเสบเรื้อรัง การใช้ยาสเตียรอยด์ โรคไทรอยด์
การตรวจ Creatinine ยังไม่ไวพอในการเฝ้าระวังโรคไตในระยะเริ่มต้น และจะพบความผิดปกติเมื่อการทำงานของ ไตเสียหายไปแล้ว 50% แต่การตรวจ Cystatin C สามารถตรวจพบได้ไวกว่าค่า Creatinine อีกด้วย
เพื่อการประเมินการทำงานของไตให้มีความแม่นยำและจำเพาะควรตรวจทั้งค่า Cystatin C และ Creatinin eGFR ร่วมกัน
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
สามารถตรวจได้จากเลือดไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
โปรแกรมที่แนะนำตรวจคัดกรองโรคไต
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine + eGFR)
- ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid)
- ตรวจเพื่อประเมินการทำงานของไตแบบละเอียด (Cystatin C)