โรค เบาหวาน Diabetes Mellitus

โรค เบาหวาน คืออะไร? ป้องกันอย่างไร?

โรค เบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) คืออะไร?

โรค เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อ อินซูลิน หรือ การดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก และ

สาเหตุของโรค เบาหวาน

เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด โดยปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า โรค เบาหวาน

เบาหวาน แบ่งได้ 2 ประเภท

  •  เบาหวาน ประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้   ส่วนใหญ่พบในเด็ก
  • เบาหวาน ประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)  ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ และ ผู้สูงอายุ

อาการของโรค เบาหวาน

  • กระหายน้ำ
  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย
  • มีอาการชาโดยเฉพาะมือและขา
  • บาดแผลหายยาก
โรค เบาหวาน Diabetes Mellitus

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

  1. ภาวะแทรกซ้อนเส้นเลือดแดงใหญ่อุดตัน มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณขา พบได้บ่อย คือมีอาการปวดขา ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน จนปลายเท้าขาดเลือด เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด
  2. เส้นเลือดหัวใจตีบ : เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบทำให้หัวใจขาดเลือด อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
  3. เส้นเลือดสมองตีบ : ส่งผลทำให้เกิด อัมพฤกษ์ อำมพาต ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือมีอาการชาครึ่งซีก
  4. ภาวะแทรกซ้อนทางตา เช่น อาการตามัว เบาหวานขึ้นตา (retinopathy)
  5. ภาวะแทรกซ้อนทางไต ทำให้ไตเสื่อม ไตวาย
  6. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท คือ อาการชาตามเท้าและมือ หรืออาจมีอาการปวดก็ได้​

ใครควรได้รับการตรวจหาโรคเบาหวาน

  1. ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 25 กก./ม2
  2. ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  3. ความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140/90  มม.ปรอท) และ ระดับไขมัน  HDL-cholesterol   ≤ 35 มก.ดล.   และ/ หรือระดับไตรกลีเซอไรด์   ≥  250 มก.ดล.ในเลือด
  4. ผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  5. ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่อายุเกินมากกว่า 35 ปี (ถ้าตรวจแล้วผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี)

การป้องกันโรคเบาหวาน

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง
  2. ลดการรับประทานอาหารหวาน   เครื่องดื่มที่มีรสหวาน
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรค เบาหวาน Diabetes Mellitus

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page