fbpx
ผมร่วง - hair loss

ผมร่วง ไม่ใช่เรื่องเล็กอย่างที่คิด

ผมร่วง (Hair loss) คืออะไร?

ผมร่วง (Hair loss) คือ การหลุดร่วงของเส้นผมบนหนังศีรษะหรือเส้นขนบนผิวหนังบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามวงจรชีวิตของเส้นผมที่มีการเสื่อมสภาพตามอายุ หลุดร่วง และงอกขึ้นใหม่ ผมร่วงยังอาจมีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์  ฮอร์โมน ความเจ็บป่วย อายุ และความเครียดสะสมที่กระตุ้นให้ผมร่วง ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อม ผมร่วงเฉียบพลัน หรือผมร่วงก่อนวัยที่ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจ และทำให้เกิดความเครียด

ผมร่วง มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการ ผมร่วง มีสาเหตุหลักจาก 2 ปัจจัย ดังนี้

1. ผมร่วง แบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Scaring alopecia) คือประเภทของผมร่วงที่เซลล์รากผมถูกทำลายลงอย่างถาวรจนทำไม่สามารถสร้างเซลล์ผมใหม่ได้ สาเหตุผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ ได้แก่

    • โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น โรคดีแอลอี (DLE) หรือกลุ่มโรคไลเคน พลาโนพิลาธิส (Lichen planopilaris) หรือ โรค LPP
    • โรคผมร่วงแบบฟรอนทอล ไฟบรอสซิง  (Frontal fibrosing alopecia: FFA) เป็นโรคผมร่วงชนิดมีแผลเป็นที่ทำให้เกิดการอักเสบที่หนังศีรษะ หนังศีรษะแดง ลอกออกเป็นขุย และทำลายเซลล์รากผมจนทำให้ศีรษะล้าน มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
    • โรคติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial infection)
    • โรค หนังศีรษะ และ ต่อมขนอักเสบ (Dissecting cellulitis /Dissecting folliculitis)
    • โรค Folliculitis decal vans ที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ผิดปกติต่อเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)
    • วัณโรค (Tuberculosis) , ซิฟิลิส (Syphillis)
    • โรคติดเชื้อไวรัส เช่น งูสวัด (Herpes zoster), เริม (Herpes Simplex)
    • โรคติดเชื้อราบนหนังศีรษะ เช่น ชันนะตุ (Tinea capitis)
    • สารเคมีบางชนิดกัดหนังศีรษะ เช่น สารที่มีความเป็นกรด หรือ ด่างสูง
    • เนื้องอกผิวหนังบนหนังศีรษะ  (Appendage tumor)
ผมร่วง - Hair loss

2. ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Non-scaring alopecia) คือประเภทของผมร่วงที่เซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลายลงอย่างถาวรทำให้มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นวงกลมหรือวงรี มีขอบชัดเจน  มีสาเหตุจาก

    • กรรมพันธุ์ (Androgenic alopecia)
    • โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) : เป็นอาการผมร่วงที่มีสาเหตุจากโรคแพ้ภูมิตนเอง (Autoimmune)
    • โรคผมร่วงเฉียบพลัน (Telogen effluvium) เป็นอาการผมร่วงผิดปกติอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น สาเหตุจาก โรคบางโรค เช่น โรคต่อมไทรอยด์ (thyroid disease),  ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมาก (Hyperthyroidism),  โรคโลหิตจาง  (Anemia), ธาลัสซีเมีย (Thalassemia),  เอชไอวี (HIV)
    • ภาวะหลังคลอดบุตร
    • ความเจ็บป่วย (Illness) เช่น มีไข้สูง หรือ หลังรับการผ่าตัด (Post-surgery) ที่ทำให้ผมร่วงชั่วคราว
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
    • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
    • ผมร่วงจากการถูกกระตุ้น (Anagen effluvium) เช่น การทำเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา (Chemotherapy)
    • การติดเชื้อ (Infections) เช่น เชื้อราบนหนังศรีษะ
    • ยารักษาโรคบางชนิด (Certain medications) ที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง, โรคข้ออักเสบ, โรคซึมเศร้า, โรคเก๊าท์, โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง หรือ ยาคุมกำเนิด
    • อายุที่เพิ่มขึ้น (Aging) ทำให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายลดลง
    • (Stress)ความเครียด หรือ การเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนใจที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง
    • พฤติกรรมบางอย่าง (Behaviors) เช่น การดึงผมตนเองโดยไม่รู้ตัว (Trichotillomania)
    • เส้นผมถูกดึงรั้งแน่นเกินไป ด้วยที่ม้วนผม,  การมัดผมหางม้า และ การถักผมเปียติดหนังศีรษะ
    • การขาดสารอาหารบางอย่าง (Nutritional deficiencies) เช่น ธาตุเหล็ก หรือ โปรตีน

อาการของ ผมร่วง เป็นอย่างไร?

  1. ผมร่วง ผมบาง กลางศีรษะอย่างช้าๆ (Gradual thinning on top of head) : อาการผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเริ่มมีอายุ เป็นสาเหตุของอาการศีรษะล้านในเพศชาย (Male-pattern baldness)
  2. ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเป็นวงกลม (Circular or patchy bald spots) : อาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ เป็นวงกลม บนหนังศีรษะ
  3. ผมร่วงอย่างกะทันหัน (Sudden loosening of hair) : อาการผมร่วงที่เกิดจากภาวะช็อกซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจจนทำให้ผมหลุดร่วงออกมาในปริมาณมากขณะหวีผม สระผม หรือแม้แต่การดึงผมเบาๆ
  4. ผมร่วงทั่วทั้งศีรษะและขนร่วงตามร่างกาย (Full body hair loss)  : อาการผมร่วงที่เกิดจากโรคบางโรค  หรือ การรักษาทางการแพทย์บางอย่าง เช่น การให้เคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็งอาจทำให้ผมร่วงทั่วทั้งศีรษะ และขนตามร่างกายหลุดร่วง
  5. ผมร่วงเป็นหย่อมๆ และ หนังศีรษะลอกออกเป็นขุย : อาจมีสาเหตุจากเชื้อรา กลาก เกลื้อน
ผมร่วง ใน ผู้ชาย - hair loss in men

วิธีการป้องกันผมร่วง ผมบาง อย่างไร

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์ หรือ อาการทางการแพทย์อื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษา และ ป้องกันผมร่วง
  • เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่เหมาะกับหนังศีรษะ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ รังแค หรือความคัน
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีสารอาหารครบถ้วน มีปริมาณแคลอรี โปรตีน และธาตุเหล็กที่เพียงพอ
  • ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ควรใส่หมวก เพื่อช่วยระบายความร้อน
  • ไม่รัดผม จนตึงแน่นจนเกินไป
  • ไม่เครียด รู้จักผ่อนคลาย

ผมร่วงเยอะมาก ต้องทาน อะไรดี?

ผู้ที่มีอาการ ผมร่วง เยอะมาก ควรทานอาหารที่ดี และ มีสารอาหารที่มีโปรตีน, ไบโอติน, ซิงค์ และ ซิลีเนียม รวมทั้งสารอาหารอื่นๆ เพื่อช่วยบำรุงเส้นผม เช่น

  • ปลาทะเล ที่มี โอเมก้า 3 (OMEGA3) และ วิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล หรือ ปลาทูน่า
  • ไข่  : ที่ให้โปรตีน, วิตามินบี 12, ซิลีเนียม, สังกะสี และธาตุเหล็ก ที่ช่วยให้ผมแข็งแรง ลดการขาดหลุดร่วง
  • ผักใบเขียว เช่น ผักเคล ผักโขม ผักคะน้า ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน, โฟเลต และธาตุเหล็ก ที่ช่วยบำรุงเส้นผม
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม ผลไม้ที่มี วิตามินซี และ สารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่ช่วยในการดูดซึม ธาตุเหล็ก
  • ธัญพืช และ ถั่วเมล็ดแห้ง ที่มี ไบโอติน, วิตามินอี, ซิงค์ และ ซิลีเนียม เช่น อัลมอนด์, เมล็ดเซีย, เมล็ดแฟลกซ์
อาหารบำรุงผม - Hair nourishment

โปรแกรม ตรวจเลือด หาสาเหตุ ของ ผมร่วง (คลิกดูรายละเอียดที่นี้)

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page