มะเร็งรังไข่ พบได้ ประมาณ17% ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธ์ของสตรี เป็นโรคมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุด ส่วนใหญ่พบได้ในสตรีที่อายุค่อนข้างมาก ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง สตรีที่มีอายุน้อย หรือสตรีที่ได้รับยากระตุ้นการตกไข่ ถ้ามีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากขึ้น ร้อยละ 75% ของโรคนี้ เป็นมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว
มะเร็งรังไข่ (HE4) คืออะไร?
Human epididymal protein 4 เป็นโปรตีนที่ตรวจพบในมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิวและมักจะไม่พบในเนื้อรังไข่ที่ปกติ
ค่าปกติ ของ HE4
- ผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือน (ทุกช่วงอายุ) 0-92.1 pmol/L
- ผู้หญิงหมดประจำเดือน (ทุกช่วงอายุ) 0-121 pmol/L
อาการของ มะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่ระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆหรืออาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นมะเร็งรังไข่ เช่น
- ท้องโตขึ้น ปวดหน่วงในอุ้งเชิงกราน
- ปัสสาวะบ่อย
- บางคนอาจจะมีอาการจุก เสียด ในช่องท้อง ซึ่งอาจคล้ายอาการของโรคทางเดินลำไส้
และกว่าจะเริ่มมีอาการนั้นแสดงว่าก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่โตมากและะเป็นระยะท้ายๆของโรคแล้วก็หรือเป็นในระยะที่แพร่กระจายยแล้วนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด เนื่องจากการรักษาในระยะที่โรคแพร่กระจายยมักได้ผลไม่ดี
การตรวจเลือดหาสารชี้บ่งมะเร็งรังไข่
- CA125(Carcinoma Antigen 125 หรือ Carbohydrate Antigen125) ใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยและะติดตามการรักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มานานแล้วแต่การตรวจ CA125 เพียงอย่างเดียวยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งอาจตรวจไม่พบในกรณีที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกกหรือตรวจได้สูงกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อที่ปีกมดลูก แต่ไม่ได้เป็นมะเร็งรังไข่
- HE4(Epididymis Antigen 125) เป็นวิธีการใหม่สำหรับตรวจหาสารชี้บ่งมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุ ที่นำผลมาวิเคราะห์ร่วมกับ CA125 แล้วทำให้เกิดความไวในการตรวจเจอโรคนี้ได้เร็วขึ้นหรือตรวจพบได้ตั้งแต่่ในระยะที่1หรือในระยะเริ่มแรก
ควรตรวจร่วมกับ CA 125 โดยการคำนวณหาค่า Roma score เพื่อประเมินความไวในการตรวจเจอมะเร็งรังไข่ได้เร็วยิ่งขึ้น หรือตรวจพบได้ในระยะที่ 1 หรือระยะเริ่มแรก
ค่าความเสี่ยงของอัลกอริธึมมะเร็งรังไข่ (ROMA score) :
สำหรับผู้หญิงมียังมีประจำเดือน :
- ค่า ROMA ≥ 11.4% (มีความเสี่ยงสูงในการพบมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว)
- ค่า ROMA < 11.4% (มีความเสี่ยงต่ำในการพบมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว)
สำหรับผู้หญิงหมดประจำเดือน:
- ค่า ROMA ≥ 29.9% (มีความเสี่ยงสูงในการพบมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว)
- ค่า ROMA < 29.9% (มีความเสี่ยงต่ำในการพบมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว)
(* ค่า ROMAจะทำการรายงานให้ในกรณีที่ส่งตรวจ HE4 พร้อมกับ CA125 เท่านั้น)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- CA125
- HE4
(ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร)