กระดูกพรุน - Osteoporosis

กระดูกพรุน  ภัยเงียบที่แอบซ่อนในตัวเรา

โรค กระดูกพรุน คืออะไร?

โรค กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้ เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ซึ่งมัใักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยมักเกิดอยู่ในช่วงวัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ  เเละในบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง

จุดเสี่ยงกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

บริเวณที่มักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน ได้แก่

  • กระดูกสันหลัง
  • สะโพก
  • ข้อมือ
  • ต้นแขนบริเวณไหล่

สาเหตุโรคกระดูกพรุน

กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ และภายในกระดูกยังมีเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า

โรคกระดูกพรุนเกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิดจึงทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกเกิดขึ้น

กระดูกพรุน Osteoporosis

ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มวลกระดูกจะต้องลดลง เป็นผลให้เปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม
  • การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (oestrogen) ในเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยลง
  • กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับ
  • โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก
  • การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูก หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล
  • รับวิตามินดีไม่เพียงพอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
  • การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์เร่งการสลาย หรือรบกวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์

อาการโรคกระดูกพรุน

เนื่องจากโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก และมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจและสังเกต เพื่อจะทำให้สามารถรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ได้เเก่

  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
  • ความสูงลดลง
  • กระดูกหักง่ายจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง

วิธีป้องกันภาวะกระดูกพรุน

1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี

  • แคลเซียม : พบในนม โยเกิร์ต ชีส ถั่ว งา ผักใบเขียว
  • วิตามินดี : ได้จากแสงแดดอ่อน ๆ เเละสามารถรับ Vitamin D จากแสงแดดได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้
  • ช่วงเช้าก่อนเวลา 08.00 น.
  • ช่วงเย็นหลังเวลา 16.00 น.
    • อาหารเช่น ไข่แดง ปลาแซลมอน ตับ

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ :โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกเบา ๆ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก หรือยกน้ำหนักเบา ๆ ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก

3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายกระดูก

  • งดสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์

4. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

5. ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

6. ตรวจสุขภาพกระดูกเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนและผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

อาหารที่มีแคลเซียมสูง calcium-rich foods

การตรวจเช็คภาวะกระดูกพรุน ทางห้องปฏิบัติการ

โปรแกรมตรวจประเมินภาวะกระดูกพรุน

  • Bone Marker Profile (Total P1NP, b-Cross Laps, Osteocalcin)
  • Vitamin D level
  • Parathyroid hormone
  • Calcium
  • Magnesium
  • Phosphorus
  • Alkaline phosphatase
  • IGF-1
  • SHBG
  • Oestrogen
  • Testosterone

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page