โพแทสเซียม (Potassium) เป็นสารเกลือแร่ที่พบส่วนใหญ่ในของเหลวภายในเซลล์ โดยทำงานร่วมกับโซเดียม(Sodium) เพื่อช่วยควบคุมสมดุลของของเหลวในเซลล์ และมีความสำคัญในการควบคุมสมดุลนี้ให้เป็นปกติ อัลโดสเตอโรน(Aldosterone)ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเป็นตัวคอยควบคุมการขับถ่ายโพแทสเซียม การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ คอร์ติโซน (Cortisol)หรือ อัลโดสเตอโรน เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นปัจจัยที่ทำให้โปแตสเซียมในร่างกายลดลง เช่นเดียวกับภาวะท้องร่วงหรืออาเจียนอย่างรุนแรง เหงื่อออกมากเกินไป การผ่าตัดใหญ่หรือบาดแผลใหญ่ ความเครียด เกลือที่มากเกินไปในอาหาร
โพแทสเซียม คืออะไร?
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
ระดับ | ค่า (mEq/L) | ผลกระทบ / อาการ |
---|---|---|
ปกติ | 3.5 – 5.0 | — |
ต่ำ (Hypokalemia) | < 3.5 | ซึม, อ่อนเพลีย, คลื่นไส้, เบื่ออาหาร, ตะคริว |
สูง (Hyperkalemia) | > 5.0 | คั่งน้ำ, หายใจลำบาก, หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ |
โพแทสเซียม มีหน้าที่อะไรบ้าง?
- ควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยรักษาดุลกรดด่าง โดยร่วมกับฮีโมโกลบิน ฟอสเฟต และคาร์บอเนต ในสภาพเกลือ โดยทำหน้าที่เป็นบัพเฟอร์ให้แก่เม็ดเลือดแดง
- กระตุ้นการส่งประสาทสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยการทำงานร่วมกับแคลเซียมและโซเดียม และมีบทบาทเฉพาะเกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และทำงานร่วมกับแมกนีเซียมในการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
- โปแทสเซียมมีส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพของผิวหนัง ช่วยให้อาหารแก่กล้ามเนื้ออย่างทั่วถึง และนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
- ช่วยร่างกายในการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรต
- ช่วยกระตุ้นให้ไตขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย
- กระตุ้นการทำงานของลำไส้ โดยให้มีการบีบตัวและรัดตัวดีขึ้น
- ทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติ
ภาวะขาด โพแทสเซียม
อาการระยะเริ่มแรกของภาวะขาดโพแทสเซียม ได้แก่
- อ่อนเพลีย และการทำงานของกล้ามเนื้อประสาทเสื่อม การตอบสนองช้า กล้ามเนื้อหย่อน ในวัยรุ่นสิวจะเกิดในคนชรา ผิวจะแห้ง
- ระบบประสาทผิดปกติ นอนไม่หลับ ท้องผูก หัวใจเต้นช้าและผิดปกติ กล้ามเนื้อจะค่อยๆ ถูกทำลาย เมื่อการขาดโพแทสเซียมทำให้ไม่มีพลังงานที่ไปกล้ามเนื้อ ทำให้ค่อยๆเป็นอัมพาตในที่สุด
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำมีสาเหตุหลายอื่นๆ ได้แก่ การใช้ยาขับปัสสาวะ (ยาเม็ด) และภาวะขาดน้ำเช่น อาเจียน ท้องเสีย หรือเหงื่อออกมากเกินไป
ภาวะขาดโพแทสเซียมเป็นครั้งคราว อาจจะเกิดเนื่องจาก การไม่ได้รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงเพียงพอ

ภาวะโพแทสเซียมสูง
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ถือเป็นภาวะร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- รู้สึกอ่อนแรงและเหนื่อยล้า คลื่นไส้ และและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ผู้ที่มีสมรรถภาพของไตทำงานได้ไม่ดี จะมีผลทำให้เกิดโพแทสเซียมในเลือดสูง เพราะไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้ ปริมาณโพแทสเซียมสูงในร่างกายจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
ปริมาณที่แนะนำต่อวัน
กลุ่มอายุ | ช่วงปริมาณ (มิลลิกรัม / วัน) |
---|---|
ทารก 3 – 5 เดือน | 50 – 925 |
ทารก 6 – 11 เดือน | 425 – 1,275 |
เด็กวัย 1 – 10 ปี | 550 – 3,000 |
เด็กโต 11 – 18 ปี | 1,525 – 4,275 |
ผู้ใหญ่ | 1,825 – 5,625 |
การดูดซึม โพแทสเซียม
ร้อยละ 90 ของปริมาณโพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับ จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วจากลำไส้เล็กตอนต้น และถูกขับออกส่วนใหญ่ทางปัสสาวะและเหงื่อ มีเพียงเล็กน้อยที่ถูกขับออกทางอุจจาระ
ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่างๆ
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) : ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
- อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง : สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน
- อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) : ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายสามารถวัดได้จากการตรวจเลือด
แหล่งอ้างอิง
- สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสำหรับประชาชน ทำอย่างไรไตไม่วาย?. กรุงเทพมหานคร
- Nutrition in chronic Hemodialysis ,Textbook of Hemodialysis โดย รศ. ชวลิต รัตนกุล
- กินอย่างไร เมื่อเป็นโรคไต โดย พ.อ.นพ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์,จันจิรา ประภากรณ์