รู้หรือไม่? ทำไมต้องตรวจ ฮอร์โมนเพศ หญิงเเละเพศชาย ต่างๆ เเละ มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร?
ฮอร์โมน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของร่างกายเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนในร่างกายตัวใดตัวนึงมีการเสียสมดุล จะส่งผลต่อทุกระบบในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ เป็นสิวเยอะ อ้วนง่าย ลดน้ำหนักยาก ระบบเผาผลาญผิดปกติ ซึมเศร้า และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุล โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ การมาปรับสมดุลฮอร์โมน หรือ ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง จึงช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ทำไมต้องตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
เรื่องของฮอร์โมนกับผู้หญิงเรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเลย ซึ่งในแต่ละช่วงวัยก็จะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ซึ่งการตรวจฮอร์โมน เป็นการตรวจสมดุลและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพื่อประเมินความผิดปกติของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นก่อนการเกิดโรค ทั้ง
- ระบบเผาผลาญ
- การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- การควบคุมอารมณ์ ความเครียด
- ความรู้สึกทางเพศ
- การเจริญพันธุ์
เพื่อหาแนวทางการปรับให้ฮอร์โมนกลับมาสมดุลอีกครั้ง
- ช่วงเด็ก-วัยรุ่น จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการเป็นสิว การมีประจำเดือน บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน หรือช่วงก่อนมีประจำเดือนจะมีเรื่องของอารมณ์ เรื่องของความเหวี่ยงเกิดขึ้นได้
- ช่วงของวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะอยากมีบุตร หรือมีบุตรยาก
หรือ บางคนมีเรื่องของน้ำหนักตัว ระบบเผาผลาญผิดปกติ
อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล
- รอบเดือนมาไม่ปกติ
- นอนไม่ค่อยหลับในเวลากลางคืน แต่กลางวันนอนหลับดี
- เป็นสิวเยอะ รักษาแล้วไม่หาย
- มักหลงๆ ลืมๆ
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการรุนแรงก่อนหรือในช่วงมีประจำเดือน
- เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
- เครียดและอารมณ์แปรปรวน
- หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม
- ปวดศีรษะ
- ช่องคลอดแห้ง ขาดน้ำหล่อลื่น
- มีความต้องการทางเพศลดลง
ฮอร์โมนเพศหญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง
รายการตรวจฮอร์โมนของผู้หญิง หลักๆ ที่แนะนำเเละควรตรวจ เพื่อดูหาความไม่สมดุลของร่างกาย ได้แก่
- Oestradiol Hormone (E2) คือฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญมาก เพราะเป็นตัวที่ช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ โดยส่วนมากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง และส่งผลให้เกิดอาการที่เป็นสัญญาณของการเข้าสู่วัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะง่าย หรือ หนาวสั่น บางคนที่เป็น Early Menopause ก็เพราะ ฮอร์โมนตัวนี้น้อยเกินไป
- Progesterone (P4) คือฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน ในปัจจุบันมีการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นเพื่อรักษาผู้หญิงที่ยังไม่เข้าสู่วัยทองแต่มีภาวะประจำเดือนขาดเนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนดังกล่าว และยังใช้ควบคู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวจนเกินไปในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
Follicle Stimulating Hormone (FSH) คือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อวงจรของประจำเดือน หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป (มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของโรค PCOS: Postoperative Cognitive Dysfunction) หรือสูงเกินไป (อาจพบในผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก่อนกำหนด) จะสามารถทำให้เป็นผู้มีบุตรยากได้
- Luteinizing hormone: LH เป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ฮอร์โมนดังกล่าวอยู่ในกลุ่มของฮอร์โมนที่เรียกว่าโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) โดยฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิง
- Sex Hormone Binding Globulin: SHBG คือโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน(Testosterone)ที่มีต่อร่างกาย ปริมาณ SHBG ที่ต่ำลงจึงส่งผลให้ร่างกายผิดปกติจากฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น
Dehydroepiandrosterone sulphate: DHEAs เป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญๆ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อย่าง เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยพบว่าระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
Cortisol คือ ฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress Hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นและมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น
- Parathyroid Hormone (PTH) หรือ พาราทอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งจากต่อมพาราไทรอยด์เป็นโพลีเพปไทด์ซึ่งมีกรดอะมิโน 84 ตัว ทำหน้าที่ในการเพิ่มระดับความเข้มข้นของแคลเซียมในเลือด ในขณะที่ฮอร์โมนแคลซิโตนิน (หลั่งจากต่อมไทรอยด์) ทำหน้าที่ลดความเข้มข้นของแคลเซียม
- Testosterone เป็นฮอร์โมนที่พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในส่วนของเพศหญิงนั้นทำหน้าที่สำคัญคือช่วยสร้างกล้ามเนื้อและมวลกระดูก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ถ้าผู้หญิงมีเทสโทสเตอโรนมากเกินไป ก็อาจมีปัญหาประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผิวมัน สิวขึ้น ขนดก ตรวจพบถุงน้ำที่รังไข่
- ฮอร์โมนไทรอยด์ (FT3, FT4, TSH) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ ควบคุมอุณหภูมิ สร้างพลังงานของร่างกาย และยังส่งผลเรื่องอารมณ์
- ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมามากกรณีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสองภาวะนี้แล้วร่างกายสร้างออกมามากเกินไป เช่น มีเนื้องอกที่สร้างโปรแลคติน อาจส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศทำให้รอบเดือนผิดปกติในผู้หญิง หรือมีปัญหาสมรรถภาพทางเพศหรือมีบุตรยากในผู้ชาย
- โกรทฮอร์โมน (IGF-1: Insulin like growth factor binding protein 1,IGF-3-BP3: Insulin like growth factor binding protein 3 ) ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย หรือเรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ เมื่ออายุยิ่งมาก ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะยิ่งลดลง
- ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าร่างกายมีอินซูลินสูงเกินไป ก็อาจส่งผลให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเมตาบอลิคต่างๆ เช่น เกิดภาวะความเครียดเร็ว ภาวะอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน
ฮอร์โมนเพศหญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง
รายการตรวจฮอร์โมนของผู้หญิง หลักๆ ที่แนะนำเเละควรตรวจ เพื่อดูหาความไม่สมดุลของร่างกาย ได้แก่
- ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร
แนะนำมาตรวจช่วงเช้า ประมาณ 8.00 -10.00 น. เนื่องจากเป็นเวลาที่คอร์ติซอลและฮอร์โมนเพศชายสูงที่สุดของช่วงวัน
- กรณีสุภาพสตรีที่ยังมีรอบเดือน และมีปัญหาอาการก่อนมีประจำเดือนหรือ PMS เด่นชัด และต้องการดูสมดุลระหว่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แนะนำประมาณวันที่ 21 ของรอบเดือน (นับประจำเดือนมาวันแรก เป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน)
- หากรับประทานยาคุมกำเนิด หรือใช้ฮอร์โมนเสริม ควรแจ้งประวัติการเข้ารับการตรวจ
ฮอร์โมนเพศชาย ต้องตรวจอะไรบ้าง และควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่
ฮอร์โมนเพศชาย มีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้องชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร
ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
อาการสัญญาณเตือนฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล
- หงุดหงิดง่าย
- ไม่กระฉับกระเฉง
- มองโลกในแง่ร้าย
- สมองไม่เฉียบคม
- มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง
- อ้วนลงผุง
- นอนไม่หลับ
- ความต้องการทางเพศลดลง
- อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
- ขาดความมั่นใจ
ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ต้องตรวจอะไรบ้าง
- Luteinizing Hormones (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ต่อมไร้ท่อที่อยู่ในอัณฑะ สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นกลุ่มฮอร์โมนเพศชายขึ้นมา
- Follicle Stimulating Hormone (FSH) ควบคุมการสร้างอสุจิ และกระตุ้นให้ LH เปลี่ยนฮอร์โมนแอนโดรเจนส่วนใหญ่ให้เป็นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
- Oestradiol (E2) ผลิตจากลูกอัณฑะและต่อมหมวกไต หากมีน้อยเกินไป อาจแสดงว่า เป็นหมัน หรือเกิดโรคที่ลูกอัณฑะ หรือต่อมหมวกไต หากมีมากเกินไป อาจแสดงว่า เกิดมะเร็งที่ลูกอัณฑะ หรือต่อมหมวกไต ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศระหว่างหญิงชาย หรือเป็นโรคอ้วน
- Testosterone ฮอร์โมนหลักของเพศชาย เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธ์
- Sex hormone binding globulin (SHBG) เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หากมีมากเกินไปจะทำให้ Free testosterone ซึ่งอยู่ในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายที่ร่างกายนำไปใช้ได้ง่าย ถูกจับไปมากขึ้น ทำให้มีปริมาณและประสิทธิภาพในการทำงาน
- ฮอร์โมนไทรอยด์ (FT3, FT4, TSH) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ ควบคุมอุณหภูมิ สร้างพลังงานของร่างกาย และยังส่งผลเรื่องอารมณ์
- Dehydroepiandrosterone Sulphate (DHEAs) เป็นหนึ่งในฮอร์โมนตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการต่อต้านกับความเครียด หากมีระดับผิดปกติจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย การเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์
- การทำงานของโกรทฮอร์โมน (IGF-1: Insulin-like growth factor 1 เเละ IGFBP-3:Insulin-like growth factor binding protein 3) ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย บางคนก็เรียกว่า ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ เพราะอายุยิ่งมาก ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะยิ่งลดลง
- Insulin like growth factor binding protein 3 (IGFBP-3) สามารถใช้ตรวจคัดกรองภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone deficiency)
- Cortisol เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด และมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ต่อสู้กับอาการอักเสบ กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด หรือช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย
- ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าร่างกายมีอินซูลินสูงเกินไป ก็อาจส่งผลให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเมตาบอลิคต่างๆ เช่น รับความเครียด ความกดดันในชีวิตประจำวันได้ลดลง ภาวะอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โดยมักตรวจอินซูลินควบคู่ไปกับระดับน้ำตาลในวันนั้นเพื่อนำมาวิเคราะห์สมดุลของอินซูลินและระดับน้ำตาล
อยากตรวจฮอร์โมน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนตรวจ?
- ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
- แนะนำมาตรวจช่วงเช้า ประมาณ 8.00 -10.00 น. เนื่องจากเป็นเวลาที่คอร์ติซอลและฮอร์โมนเพศชายสูงที่สุดของช่วงวัน
Reference
- นพ.เปรมสันติ สังฆ์คุ้ม, ฮอร์โมนเพศชายในมุมมองที่แตกต่าง (rama.mahidol.ac.th), 2 มิถุนายน 2564.
- โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์, ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (siphhospital.com), 2 มิถุนายน 2564
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สำรวจโลกฮอร์โมน (mahidol.ac.th), 2 มิถุนายน 2564.