โลหะหนัก - Heavy Metal
ในยุคปัจจุบัน สิ่งที่ปนเปื้อนที่มีพิษต่อร่างกาย ที่มากับอาหาร น้ำ อากาศและสิ่งเเวดล้อมรอบตัวเรามีเพิ่มมากขึ้นๆในทุกวัน เเละเราทุกคนได้รับสารพิษเหล่านั้นเข้าไปในร่างกายโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสาร โลหะหนัก ซึ่ง โลหะหนัก เมื่อสะสมในร่างกายในปริมาณมากขึ้น และมีมากเกินจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) [อ่านบทความ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs คลิกที่นี้] และ การเกิด มะเร็ง
โลหะหนัก คืออะไร เเละมีอะไรบ้าง?
โลหะหนัก หมายถึง โลหะหนักที่มีความหนาแน่นเกินกว่า 5 กรัม และสารโลหะหนักจะแฝงอยู่ในอาหาร อากาศ น้ำ โดยมนุษย์รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกายบริโภค ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสารปนเปื้อนโดยตรง เช่น โลหะหนักปนเปื้อนในน้ำดื่ม หรือ การได้รับจากการบริโภคทางอ้อม เช่น การปลูกผัก-ผลไม้ หรือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในแหล่งที่ปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก ก็จะทำให้ผู้บริโภคปลายทาง มีโอกาศได้รับโลหะหนักจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนดังกล่าว ซึ่งชนิดของโลหะหนักที่พบบ่อย ได้แก่
- อะลูมิเนียม (Aluminium)
- เเคดเมี่ยม (Cadmium)
- ตะกั่ว (Lead)
- ปรอท (Mercury)
- สารหนู (Arsenic)
เราจะได้รับ โลหะหนัก เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
- การรับประทาน: เช่น รับประทานปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีระดับสารปรอทสูง หรือยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก รวมถึงการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษ
- ทางเดินหายใจ: การสูดดมผงฝุ่นที่มีส่วนผสมของโลหะหนักบางชนิดหรือควันจากบุหรี่
สัมผัสทางผิวหนัง: การดูดซึมผ่านทางผิวหนังจากการทำงานในโรงงานที่ใช้โลหะหนักเป็นส่วนประกอบ หรือเครื่องสำอางบางประเภท
การปนเปื้อนของโลหะหนัก พบได้จากไหน?
- อลูมิเนียม (Aluminium): น้ำประปา ยาลดกรดในกระเพราะอาหาร สีผสมอาหาร
- สารหนู (Arsenic): สารปนเปื้อนในข้าว มักพบปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ น้ำดื่ม อาหารทะเล เครื่องสำอาง ยาแผนโบราณ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตยากำจัดศัตรูพืช อุตสาหกรรมฟอกหนัง และโรงงานถลุงเหล็ก
แคดเมียม (Cadmium): สีย้อมผม สีทาปาก ทาเล็บ โดยทั่วไปแคดเมียมที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมจะพบในแหล่งทําเหมือง สังกะสีและตะกั่ว ในอุตสาหกรรม ยาสูบและบุหรี่
ตะกั่ว (Lead): สีทาบ้านภายในภายนอก พนักงานเหมืองตะกั่วหรือโรงงานผลิตแบตเตอรี่
- ปรอท (Mercury): อาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเล และ เครื่องสำอาง
พิษของโลหะหนัก
สารโลหะหนักที่สะสมในร่างกายมีปริมาณเล็กน้อย หรือระดับไม่ก่อให้เกิดพิษ แต่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย
- รบกวนการทำงานของเอนไซม์บางชนิดภายในเซลล์ ส่งผลให้ การทำงานของระบบประสาท ฮอร์โมน การย่อยและการดูดซึมอาหาร และ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ
- หากหญิงตั้งครรภ์ หรือ เด็ก ได้รับสารพิษจากโลหะหนัก ก็จะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
- ก่อให้เกิดความผิดปกติในระดับเซลล์ เช่น เซลล์ทำงานผิดปกติ การแบ่งตัวผิดปกติ หรืออาจทำให้เซลล์ตาย
- อาจก่อให้เกิดความเสียหายในระดับโครโมโซม ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม
- สารโลหะหนักยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ที่เป็นสารตั้งตั้งในการเกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ
ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ผนังหลอดเลือดขรุขระ ส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ขาดความยืดหยุ่นและหดตัว กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเส้นเลือดตีบตัน และทำให้ความสามารถในการนำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่น
โรคอัลไซเมอร์
โรคพาร์กินสัน
โรคหัวใจ
โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
ความเครียด
ความคิด ความจำ
โรคซึมเศร้า
โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับกระดูกพรุน
- ภาวะฮอร์โมนต่ำ
อาการเตือนเมื่อโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
- ปวดศีรษะบ่อย
- นอนไม่หลับ สมาธิไม่ดี
- ผื่นภูมิแพ้ ลมพิษ
- หอบหืด หายใจติดขัด
- ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน
- มีภาวะโลหิตจาง
- ชาปลายมือ-ปลายเท้า
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่อาจจะมีสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย
- ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับโลหะหนัก เช่น พนักงานโรงงานผลิตสารเคมี ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
- ผู้ที่มีที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม
- ผู้ที่ซื้ออาหารปรุงสำเร็จที่อาจปนเปื้อนโลหะหนักจากวัตถุดิบต่างๆ
- ผู้ที่รับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งปนเปื้อนน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม
- ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่การปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ
- ผู้ที่ทำสีผมทำเล็บโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นประจำ
- ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันแบบอะมัลกัม
- ผู้ที่มีกิจกรรมกลางเเจ้งเป็นประจำ
เราจะตรวจประเมินการสะสมของสารโลหะหนักในร่างกายได้อย่างไร ?
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเลือด
Reference :
- พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และดร.นิธิยา รัตนาปนนท์. Heavy metal – โลหะหนัก. Food network solution. http://www. foodnetworksolution.com/wiki/word/2080/heavy-metal
- ขนิษฐ พานชูวงศ์. (2550). ปรอท ตะกั่ว สารหนูโลหะหนักภัยใกล้ตัว. วารสารหมอชาวบ้าน. 334(014), 3 หน้า.
- สุทธินี มีสุข. (2554). มลพิษของโลหะหนัก. รายงานสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี)
- คณะเวชศาสตร์เขตร้อนใ มหาวิทยาลัยหิดล. (2548). บริการตรวจโลหะหนัก [แผ่นพับ]. https://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/metal-th.pdf