AMH (Anti-Mullerian hormone)

AMH (Anti-Mullerian Hormone) คืออะไร?

AMH คืออะไร?

AMH หรือ Anti-Mullerian hormone คือ ฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากใข่ใบเล็กๆ ในรังไข่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ของผู้หญิงในขณะนั้น

ระดับของฮอร์โมน AMH ในเลือด จะเป็นตัวช่วยประเมินได้ถึงจำนวนไข่ที่ยังเติบโตได้ในรังไข่ ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสในการตั้งครรภ์  ผลการตรวจวิเคราะห์ AMH ช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่า  มีจำนวนไข่เหลืออยู่ในรังไข่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยบอกถึงโอกาสสำเร็จของการทำ IVF (เด็กหลอดแก้ว) และช่วยในการวางแผนการมีบุตรสำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรในวันนี้และในอนาคต

ทำไมต้องตรวจ AMH ?

โดยปกติผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมกับปริมาณไข่ที่จำกัด โดยมีประมาณ1-2 ล้านฟอง ซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีก ต่างจากเซลล์สืบพันธุ์ของผู้ชายที่สามารถสร้างอสุจิขึ้นมาใหม่ได้ตลอด แม้ว่าจะดูเหมือนว่าผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมกับปริมาณไข่จำนวนมาก แต่เซลล์ไข่เหล่านี้ก็จะถูกสลายไปอย่างรวดเร็ว.

  • เมื่ออายุมากขึ้น : โดยพบว่าเหลือเพียงประมาณ 400,000 ฟองเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก และจะมีการสลายไปเรื่อย ๆ ทุกเดือนจนเข้าสู่วัยทอง นอกจากอายุแล้ว
  • ปัจจัยอื่น ๆ เช่น
    • พันธุกรรม
    • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบหรี่ ดื่มเหล้า
    • โรคของรังไข่อย่างอื่น เช่น ช็อกโกแลตซีสต์
AMH Anti-Mullerian hormone

ปัจจัยเหล่านี้ ก็ล้วนส่งผลให้ไข่มีการสลายเร็วมากขึ้นกว่าปกติ และไม่เพียงส่งผลต่อปริมาณของไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่เท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่อีกด้วย

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH ด้วยการเจาะเลือด เป็นการตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ ทำให้รู้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ได้

ข้อดีของการตรวจวิเคราะห์ระดับ AMH (Anti-Mullerian Hormone)

การตรวจระดับ AMH เป็นการตรวจแบบง่ายๆ ด้วยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับแอนตี้มูลเลอเรียนฮอร์โมน (Anti-Mullerian Hormone, AMH)  อันแสดงถึงความสามารถในการทำงานของรังไข่ การตรวจเลือดก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการเจาะเลือด และตรวจได้ทุกวันโดยไม่ขึ้นกับการมีรอบเดือน ทั้งนี้ผลการตรวจ AMH มีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยประเมินความสามารถของการทำงานของรังไข่เพื่อประเมินโอกาสการตั้งครรภ์และช่วยให้แพทย์แนะนำวิธีการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ดีขึ้น
  • ค่า AMH เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ประเมินว่า ควรให้การกระตุ้นรังไข่มากน้อยแค่ไหนจึงเหมาะสม เพื่อประกอบการรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • ค่า AMH ที่สูง ใช้ช่วยประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรือPolycystic Ovary Syndrome (PCOS) ร่วมกับการประเมินอื่นๆ ได้
  • เหมาะกับคุณผู้หญิงหรือคู่สมรสที่ต้องการวางแผนการมีบุตรในอนาคต

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page