สุขภาพจิต - Mental Health

สุขภาพจิต (Mental health) คืออะไร?

ทำไม สุขภาพจิต ที่ดีจึงสำคัญกับเราทุกคน ?

เรื่องของ  mental health  หรือสุขภาพจิต  ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่คนพูดถึงและให้ความสำคัญกันมากขึ้น ไม่ต่างไปจากการเลือกรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย ภาวะการนอนไม่หลับหรือหลับยาก  และเมื่อชีวิตประจำวันที่ต้องพบเจอกับความเครียด การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร สมาธิไม่จดจ่อ ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนแปรปรวน สารสื่อประสาททำงานบกพร่อง ส่งผลให้เกิดโรคจิตเวช และะสุขภาพไม่ดี หรือเจ็บป่วยตามมา

สุขภาพจิต(Mental health) คืออะไร

สุขภาพจิต (Mental health) คือ ภาวะที่จิตใจเป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ไขปัญหา ดำเนินชีวิตประจำวันได้ มีความรู้สึกดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ในสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่รู้สึกอึดอัดใจ (ข้อมูลจาก : World Health Organization. Retrieved 3 February 2013)

ถ้าเรามีสุขภาพจิตที่ดีเราจะรู้สึกมีความสุข มีความมั่นใจ มีความหวัง  มีความพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่ และทำให้เราอยากผูกสัมพันธ์กับผู้อื่นในการสร้างสิ่งดีๆ ให้สังคม การมีสุขภาพจิตดีเราจะมีความสงบภายในและสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย

ทำไม สุขภาพจิต ถึงสำคัญกับเรา?

สุขภาพจิตใจ มีความสำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย เนื่องด้วยจิตและกายทำงานสัมพันธ์กัน เราไม่สามารถแยกจิตใจและร่างกายออกจากกันได้ หากสุขภาพจิตเราแย่หรือไม่ดีจะส่งผลและแสดงออกทำให้สุขภาพทางกายให้แย่ไปด้วย

สุขภาพจิตที่ดี ช่วยเราได้อย่างไร?

การมี สุขภาพจิตดี ช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

  • ช่วยให้เรามีความสุขุม ใจเย็น ควบคุม และสงบสติอารมณ์ได้
  • เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่พอใจ และสามารถจัดการกับภาวะภายในจิตใจได้

เมื่อเกิดการสูญเสีย สามารถแก้วิกฤติจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่คาดคิดในชีวิตได้ สุขภาพจิตดีช่วยให้เราสามารถรับมือกับความกลัว และความไม่แน่นอนของชีวิตได้ สุขภาพจิตดีทำให้เราสามารถรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ เรียนรู้ และทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นได้

mental health - สุขภาพจิต

สุขภาพจิตที่ไม่ดี ส่งผลอย่างไรต่อการใช้ชีวิตของเรา?

สุขภาพจิตไม่ดี ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม และมักส่งผลต่อการทัศนคติการมองโลก และการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม อาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำภารกิจให้สำเร็จในแต่ละวัน อาจนำไปสู่ความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่มีแรงพลังผลักดัน และไม่สามารถพึ่งตัวเองได้

  • ความเจ็บป่วยทางจิตใจ ส่งผลเสียต่อการมีสุขภาพจิตดี และอาจมีความเกี่ยวโยงกับหลายปัจจัย เช่น
    • ทางพันธุกรรม
    • ความเครียดความวิตกกังวล
    • การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย หรือจิตใจ
    • ประสบการณ์เหตุการณ์ สะเทือนใจ

ความเจ็บป่วยทางจิต สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นไปจนถึงระยะยาวนานหลายปี ความเจ็บป่วยทางจิตบางอย่างที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานกับบุคคล และยิ่งอยู่ในระดับรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการดูแลและะรักษาอย่างดีและะเหมาะสม

  • การมี สุขภาพจิตแย่ลง และถูกปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อความเจ็บป่วยเรื้อรังด้านร่างกายตามมา และการไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือการดูแลรักษาอย่างไม่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยบ่อยๆ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนไม่มีประสิทธิภาพ
  • สุขภาพจิต เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการรับมือกับความเครียด รวมถึงการรักษาสัมพันธภาพกับผู้คนที่อยู่ด้วยในสังคม สุขภาพจิตดีสำคัญกับเราทุกช่วงพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนเติบโตไปสู่ผู้สูงวัย

ปัญหา สุขภาพจิต ที่พบบ่อย

1. ภาวะวิตกกังวล : ความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติของการดำเนินชีวิต หากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาด้านโรควิตกกังวล ดังเช่น

  • อาการหวาดวิตก (Panic attack)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)
  • ภาวะปมบาดแผลทางใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)
  • ภาวะกลัว หวาดระแวง กลัวการเข้าสังคม กลัวการถูกจ้องมอง หรือการถูกตัดสินจากผู้อื่น
การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดสามารถช่วยลดอาการต่างๆได้ แต่ในบางกรณีอาจต้องรับประทานยาร่วมด้วย

2. ภาวะอารมณ์บกพร่อง : มักมีอาการอารมณ์ไม่คงที่ อารมณ์ขึ้น-ลงผิดปกติ เดี๋ยวมีความสุข เดี๋ยวเปลี่ยนเป็นเศร้า ยากต่อการจัดการอารมณ์ด้วยตนเอง  โรคเกี่ยวกับอารมณ์บกพร่องที่เป็นมากในสังคมคือ

  • ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  • ภาวะอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymic Disorder ) : อาจมีอาการไม่รุนแรง แต่เรื้อรังยาวนานเป็นปี
mental health - สุขภาพจิต

3. ภาวะผิดปกติทางจิต (Psychotic Disorders) : ภาวะทางจิตผิดปกติ หากเข้าสู่ขั้นรุนแรง ทำให้เกิดความคิดที่บิดเบือน ไม่สามารถแยกแยะ หรือรับรู้สิ่งที่เป็นจริง หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจะส่งผลให้เกิดอาการแย่ลง เช่น

  • เห็นภาพหลอน
  • หูแว่ว
  • ประสาทสัมผัสผิดเพี้ยน ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง เกิดการตัดขาดจากโลกความเป็นจริง และมีความคิดที่หลงไปในทางผิดปกติ ความคิดแปลกประหลาด และอาจส่งผลอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

โรคทาง Psychotic disorder ควรได้รับการรักษาด้วยยาควบคู่กับการทำจิตบำบัด ได้แก่ โรคจิตหลงผิด (Schizophrenia หรือ Delusional Disorder)

สาเหตุของ ภาวะจิตเภท มีหลากหลายประการ เช่น

  • ระบบการทำงานของสมองผิดปกติ
  • สมองได้รับสารพิษสะสม
  • เจ็บป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท(สมอง) ทำให้เห็นภาพหลอน ภาพลวงตา หูแว่วได้
  • การถูกทำร้าย การถูกทารุณกรรมทางร่างกาย และจิตใจจนเกิดเป็นปมบาดแผลทางใจ (Trauma) ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะทางจิตเภทได้
  • การใช้ยากระตุ้น หรือสารเสพติด แอลกอฮอล์
  • อาการถอนยาจากการรักษาโรคทางจิตเภทแบบกะทันหัน ก็มีส่วนทำให้การทำงานของระบบสมองรวน ส่งผลต่ออารมณ์ที่แปรปรวนได้

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน (Eating Disorders) :  เป็นความเจ็บป่วยที่มาจากจิตใจ ความผิดปกตินี้จากภายนอกดูเหมือนเป็นประเด็นที่เน้นไปที่อาหาร แต่แท้จริงแล้วเกิดจากปัญหาฝังลึกในใจ เกี่ยวกับการถูกบังคับควบคุมในรูปแบบต่างๆ

5. โรคบุคลิกภาพบกพร่อง (Personality Disorders) :  เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตผิดปกติ ในเรื่องความคิด พฤติกรรม การดำเนินชีวิต การรักษาควรทำจิตบำบัดเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

ลักษณะที่มักพบเห็นส่วนใหญ่คือ จะมีอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับ

  • อารมณ์หงุดหงิด
  • โมโหร้าย ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  • อารมณ์ไม่มั่นคง
  • พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
  • มีบุคลิกภาพชอบบังคับควบคุมคนอื่น
  • มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม หรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับโรคหลาย
  • บุคคลิกภาพที่มักแยกออกจากตัวตนที่เป็นอยู่จริง หรือสร้างตัวตนอื่นๆ

โรคบุคลิกภาพบกพร่องที่มักพบบ่อย เช่น Borderline, Narcissistic, Antisocial, Dissociative เป็นต้น

mental health - สุขภาพจิต

เสริมสร้างสุขภาพจิตดีทำอย่างไร

  • ฝึกตนเองให้มองโลกในความเป็นจริง มีเหตุผล และฝึกคิดในแง่บวก ประโยชน์มากกว่าแง่ลบ ช่วยให้คุณไม่เกิดความวิตกกังวลมากจนเกินไป
  • ดูแลจิตใจตัวเองให้สงบและผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การฝึกฝนจิตใจให้สงบ และอยู่กับปัจจุบัน รวมทั้งรู้ทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเราเองอยู่เสมอ
  • ไม่ตั้งความหวังมากจนเกินไป ซ้อมรับมือกับความผิดหวัง หากตนเองต้องเผชิญในสถานการณ์จำเป็น
  • สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี ไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์เช่นไร
  • มีความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 วัน/สัปดาห์ ครั้งละ 30-60 นาที เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทไม่ให้บกพร่อง
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่ให้ร่างกายอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทในสมอง เช่น Magnesium, Vitamin B, เสริมโพรไบโอติกส์ที่ดีต่อลำไส้ จากนมเปรี้ยว โยเกิร์ต ช่วยปรับสมดุลลำไส้ จากเชื้อรา ยีสต์ แบคทีเรีย ที่หากสะสมมากๆ เชื้อเหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายเครียด, ไม่นอนดึก นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน เพื่อช่วยเสริมสร้างกระบวนการฟื้นฟูขณะนอนหลับ ลดภาวะการทำงานของฮอร์โมนบกพร่อง

อ้างอิง

  • “Mental health: strengthening our response”. World Health Organization. August 2014. สืบค้นเมื่อ 4 May 2014.
  • Edmonds, David Matthew; Zayts-Spence, Olga; Fortune, Zoë; Chan, Angus; Chou, Jason Shang Guan (2024-03-04). “A scoping review to map the research on the mental health of students and graduates during their university-to-work transitions”. BMJ Open (ภาษาอังกฤษ). 14 (3): e076729. doi:10.1136/bmjopen-2023-076729. ISSN 2044-6055.
  • who.int [Mental health]
  • healthdirect.gov.au [mental-illness]
  • quebec.ca [psychotic-disorders]

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page