fbpx
สารต้านอนุมูลอิสระ - Antioxidant

Antioxidants ช่วยชะลอวัย จริงหรือไหม?

ทำความรู้จัก Antioxidants หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ สารช่วยต่อต้านความชรา จริงหรือไหม?

Antioxidants หรือ สารต้านอนุมูลอิสระ คำนี้มักได้ยินกันบ่อยๆ จากสื่อโฆษณา โดยเฉพาะจากสื่อโฆษณาพวก วิตามิน อาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าอนุมูลอิสระ(Free radicals)และสารต้านอนุมูลอิสระ(antioxidants)นั้นคืออะไร? มาจากไหน? มีประโยชน์ต่อร่างกายจริงหรือไม่?  และย่างไร? วันนี้เรามาหากตอบและทำความรู้จักกัน

สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) คืออะไร?

         สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือ สารประกอบที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยต่อต้าน อนุมูลอิสระ (Free radicals) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อไม่ให้อนุมูลอิสระนี้สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ หรือทำลายระบบภูมิคุ้มกัน

สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร

          อนุมูลอิสระ คือ ของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นอยู่ตลอดเวลา อาจมาจากกระบวนการเผาผลาญ ความเครียด นอนไม่พอ มลพิษ ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารแปรรูป หรือมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น

          เมื่อ อนุมูลอิสระ ในร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปราศจากการยับยั้ง จะทำให้เซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น เป็นสาเหตุให้เราดูแก่กว่าวัย ผิวหนังหย่อนคล้อย เกิดริ้วรอย และเกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม ต้อกระจก รวมถึงโรคอ้วน ด้วยเหตุนี้ สารต้านอนุมูลอิสระจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเราต่อสู้กับความเสื่อมถอยก่อนวัยอันควรของร่างกายเรานั่นเอง

สารต้านอนุมูลอิสระ - Antioxidant

โดย อนุมูลอิสระ นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้

  • อนุมูลอิสระ ภายในร่างกาย ส่วนใหญ่มาจากกระบวนการเผาผลาญในเซลล์เพื่อสร้างพลังงาน ที่หน่วยย่อยภายในเซลล์อันมีชื่อว่า ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารเข้าไปมากเกินความต้องการ ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญมากขึ้น ทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่มากขึ้น
  • อนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นภายนอก และส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นในร่างกาย ได้แก่ รังสีUV ควันมลพิษ การสูบบุหรี่ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การรับประทานอาหารประเภทผัด ทอด ปิ้งย่าง รวมถึงภาวะความเครียดทั้งทางกาย (อดนอน อดอาหารลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างหนัก ) และทางใจ เป็นต้น

          เมื่อเกิดอนุมูลอิสระขึ้น ร่างกายของเราจะมีกลไลในการต่อสู้หรือกำจัดความเป็นพิษเหล่านี้ด้วยการสร้าง “สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidants” ขึ้นมาต่อต้าน เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายของเรามีอนุมูลอิสระมากจนเกินกว่าสารต้านอนุมูลอิสระจะจัดการได้ ซึ่งจะทำให้อนุมูลอิสระตัวร้ายจะเริ่มก่อกวนทำลายเซลล์ต่างๆในร่างกายอย่างช้าๆโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว เรียกภาวะนี้ว่า “Oxidative Stress” สิ่งที่ตามมาคือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สมองเสื่อม ต้อกระจก โรคอ้วนหรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง เป็นต้น

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มีอะไรบ้าง?

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ได้เเก่

  • วิตามินเอ (Vitamin A)
  • วิตามินซี (Vitamin C)
  • วิตามินอี (Vitamin E)
  • แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
  • กรดแอลฟาไลโปอิก (Alpha lipoic acid)
  • เบตาแคโรทีน (Beta-Carotene)
  • ลูทีน (Lutein)
  • ไลโคปีน (Lycopene)
  • ซีลีเนียม (Selenium)
  • โอเมก้า-3 (Omega 3)

          สารต้านอนุมูลอิสระ เหล่านี้ จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเม็ดเลือดขาว ให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญ คือ ช่วยทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะส่งผลช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์เเละชะลอวัย

ชะลอวัย - anti aging

          อย่างไรก็ดีการดูเเลสุขภาพในเชิงป้องกัน (Preventive health care) เพื่อชะลอความเสื่อมของเซลล์ และชะลอความเสื่อมของร่างกายนั้น เพื่อบรรเทาความรุนแรงของการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น และช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) มีอะไรบ้าง?

    โดยปกติ ร่างกายของเราสามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาได้เอง และเมื่อเรามีอายุมากขึ้นจะผลิตน้อยลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกัน จะพบว่าสารอนุมูลอิสระเกิดขึ้นในร่างกายได้เร็วกว่าซึ่งเราจะหวังพึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายผลิตขึ้นเองอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะยับยั้งของเสียหรือสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระจากภายนอก ดังเช่น วิตามิน เเละอาหารเสริมร่วมด้วย

อาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

  • ผัก ผลไม้สีเหลือง และสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘วิตามินเอ’ และ ‘เบตาแคโรทีน’
  • ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ถั่วลันเตา บร็อคโคลี่ แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘ลูทีน’
  • ผัก ผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริกหวาน เกรปฟรุต ฟักข้าว แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘ไลโคปีน’
  • เนื้อแดง ทูน่า ไข่ ตับ และผักโขม แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘ซีลีเนียม’
  • ฝรั่ง ส้ม สตรอเบอร์รี่ แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘วิตามินซี’
  • ถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต จมูกข้าวสาลี ซีเรียลแบบโฮลเกรน อะโวคาโด รวมถึงผลไม้อื่นๆ และเนื้อสัตว์ แหล่งของสารต้านอนุมูลลอิสระ ‘วิตามินอี’
  • น้ำมันรำข้าว น้ำมันปลา เมล็ดเจีย วอลนัท แซลมอน เนื้อปลา แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ‘โอเมก้า 3’
อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ - Foods are rich in antioxidants

          ถ้าเราไม่ต้องการให้ร่างกายเสื่อมโทรมหรือดูแก่ก่อนวัย เราจึงควรรีบป้องกันก่อนที่เซลล์จะถูกทำลาย โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระดังที่กล่าวข้างต้น และเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากการรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ และไฟโตนูเทรียนท์(Phytonutrients)หลากหลายชนิด

          ทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เราสามารถตรวจหาระดับสารต้านอนุมูลอิสระในแต่ละชนิดได้ เช่น วิตามิน A,C,E, Lycopene, Beta-Carotene และ CoenzymeQ10 เป็นต้น ซึ่งจะสามารถนำมาช่วยให้เราเลือกเสริมสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page