อารมณ์ดี - Good mood

อารมณ์ดี มีผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ทำไมการมี อารมณ์ดี ถึงเป็นเรื่องดี?

อารมณ์ดี เป็นสิ่งที่หลายคนอยากมีติดตัวไว้ เพราะนอกจากจะส่งผลดีในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นแล้ว อาจช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและป้องกันการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน ซึ่งเราทุกคนล้วนมีอารมณ์ดีได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของตนเอง

อารมณ์ดี - Good mood

อยากมี อารมณ์ดี ควรทำอย่างไร

บุคลิกภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อารมณ์ของแต่ละคนแตกต่างกัน คนที่ร่าเริงและมองโลกในแง่บวกมักจะอารมณ์ดีและมีความสุขได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม อารมณ์ที่ดีสร้างได้ด้วยตัวเอง เพียงปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้มีอารมณ์ดี ทำได้ดังนี้:

  1. ปรับความคิด ความคิดที่มีต่อตนเอง คนอื่น หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ส่งผลต่ออารมณ์ของคนเราค่อนข้างมาก การเปลี่ยนความคิดจึงเป็นวิธีพื้นฐานที่ช่วยเสริมสร้างอารมณ์ที่ดี ได้แก่
    • หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษตัวเอง
    • พยายามมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในด้านบวก และนึกถึงเรื่องราวดี ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น กิจกรรมที่อยากทำในวันหยุด เป็นต้น
  2. เปลี่ยนพฤติกรรม พฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ของคนเราไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพกาย แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์อีกด้วย เเละการเสริมสร้างพฤติกรร ที่ส่งผลต่อการทำให้อารมณ์ดี ได้เเก่
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนน้อยเกินไปจะส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ในวันถัดไป ควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยควรเน้น
      • ธัญพืช, ผัก และ ผลไม้
      • อาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน
      • โอเมก้า 3 (Omega-3)
      • วิตามินดี (Vitamin D) : พบมากในไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และน้ำมันตับปลา เเละวิตามินดี ช่วยให้ร่างกายหลั่งเซโรโทนิน (Serotonin) อันเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางอารมณ์ออกมามากขึ้น
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด
  4. พยายามยิ้มให้ตัวเอง โดยสมองจะตอบสนองต่อการยิ้มและสั่งให้รู้สึกมีความสุข
  5. ออกไปทำกิจกรรมนอกที่พักอาศัย เช่น เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือจัดสวน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและรับอากาศบริสุทธิ์
  6. ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น วาดรูป ฟังเพลง นั่งสมาธิ เป็นต้น
  7. เมื่อมีปัญหาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ให้พูดคุยกับคนที่ตนเองไว้ใจ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว
  8. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที (อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์) เพราะการออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน (Endophine) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยให้อารมณ์ดีออกมามากขึ้น
  9. จัดสรรกิจกรรมที่ต้องทำ ในแต่ละวันให้พอเหมาะ
  10. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้มีอารมณ์ดี  เช่น การจัดที่พักอาศัยให้สะอาด เรียบร้อย มีอากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดส่องเข้าถึงภายในห้อง เป็นต้น

อารมณ์ดี ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไร?

สภาวะจิตใจและอารมณ์ที่ดีไม่เพียงช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพภายนอกและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ยังทำให้มีสุขภาพโดยรวมทั้งสุขภาพกายเเละสุขภาพจิตดี ทำให้อายุยืนยาว

  1. เสริมสร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดี เช่น
    • เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    • มีการเคลื่อนไหวออกกำลังค่อนข้างบ่อย
    • มีพฤติกรรมการนอนหลับที่ดี
  2. ป้องกันโรคหัวใจ :การมีอารมณ์ดีอาจช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคหัวใจ อีกทั้งอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจด้วย
  3. ลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล(Cortisol hormone) เมื่อคนเรารู้สึกเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผล
    • ให้สุขภาพการนอนหลับแย่ลงและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน(Diabetes)
    • โรคความดันโลหิตสูง(Hypertension)
  4. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง : คนที่มีอารมณ์ดีมีโอกาสเป็นหวัดหรือไม่สบายน้อยกว่าคนที่นอนไม่เพียงพอหรือนอนน้อย
อารมณ์ดี - Good mood

เอกสารอ้างอิง

1. Suls, J. et al. (2005). Anger, Anxiety, And Depression as Risk Factors for Cardiovascular Disease: The Problems and Implications of Overlapping Affective Dispositions. Psychological Bulletin.
pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
2. Cohn MA, Fredrickson BL, Brown SL, Mikels JA, Conway AM. Happiness unpacked: positive emotion increasing life satisfaction by building resilience.2009 Jun;9(3):361-8.

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page