HIV Testing

มาทำความรู้จักการตรวจ HIV

Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์, น้ำนมแม่, เชื้อไวรัส HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ ผู้ติดเชื้อ HIV จะเข้าสู่สภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่รู้จักกันว่า AIDs

ทำไมต้องตรวจ เอชไอวี (HIV) ?

โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อ HIV จะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน กว่าอาการจะเริ่มแสดงออกมาโรคก็อาจลุกลามรุนแรงมากขึ้นแล้ว ภูมิคุ้มกันลดลงต่ำมาก จนเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา   ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงรับเชื้อ HIV จึงควรเข้ารับการตรวจ HIV โดยเร็วที่สุด หากพบเชื้อก็จะได้วางแผนการรักษาและดูแลตัวเองได้ทันก่อนที่อาการจะลุกลามมากขึ้น

การตรวจ เอชไอวี (HIV) มีกี่วิธีและมีอะไรบ้าง

  1. การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ HIV (HIV p24 Antigen Testing) คือการตรวจโปรตีนของเชื้อที่ชื่อว่า p24 Antigen วิธีนี้ใช้สำหรับตรวจการติดเชื้อในระยะแรก ซึ่งร่างกายผู้ได้รับเชื้อยังไม่สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV (Anti-HIV) หรือร่างกายมีระดับแอนติบอดีที่ต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดได้  โดยสามารถตรวจได้ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 14-15 วัน
  2. การตรวจโดยใช้ชุดตรวจแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อ HIV และตรวจแอนติเจนของเชื้อพร้อมกัน (HIV Ag/Ab Combination Assay) หรือเรียกอีกอย่างว่า ตรวจแบบใช้น้ำยา Fourth Generation ซึ่งเป็นการตรวจ Anti-HIV และ HIV p24 Antigen ในคราวเดียวกัน ปัจจุบันน้ำยาประเภทนี้มีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุด 14-15 วัน หลังติดเชื้อ
  3. การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ HIV (Nucleic Acid Amplification Testing: NAT) สำหรับการตรวจ HIV RNA ซึ่งเป็นวิธีที่มีความรวดเร็วมาก สามารถตรวจการติดเชื้อได้ตั้งแต่ 3-7 วันหลังติดเชื้อ
hiv screening - การตรวจ HIV

ควรตรวจ เอชไอวี (HIV) บ่อยแค่ไหน?

ผลลบ ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีเชื้อเอชไอวี การตรวจหาการติดเชื้อ HIV สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การที่เรารู้ว่าเรามีระยะหลังจากความเสี่ยงหรือหลังสัมผัสการติดเชื้อเพียงพอต่อวิธีที่เราจะใช้ในการตรวจหรือไม่ เพราะเราอาจอยู่ในระยะที่ตรวจหาเชื้อไม่พบ หรือ ระยะ Window Period หากเราตรวจในระยะ Window Period แล้วไม่พบการติดเชื้อ HIV สามารถตรวจยืนยันผลอีกครั้งตามระยะเวลาที่เหมาะสมของวิธีการที่เราใช้ในการตรวจก็จะสามารถยืนยันผลได้เช่นเดียวกัน

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page