IGF-1 หรือ ชื่อ เต็มว่า Insulin-like Growth Factor-1 เป็นฮอร์โมนการเจริญเติบโตจากฑรรมชาติที่มีความสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต
IGF-1 เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ตับ มาจากการกระตุ้นของโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) จากต่อมใต้สมอง จากนั้น IGF-I จะไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายอีกทีหนึ่ง สามารถผลิตได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถสูงขึ้นได้ตลอดทั้งวัน
IGF-1 ทำหน้าที่อะไร?
IGF-I มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเซลล์ และการเจริญเติบโตของร่างกายโดยการกระตุ้น การสังเคราะห์โปรตีน การแบ่งเซลล์ของกระดูก บริเวณแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth Plate) ทำให้เนื้อเยื่อและกระดูกในร่างกายเจริญ เติบโต และกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เพื่อรักษาสมดุล ของกลูโคสในร่างกายจากการกระตุ้นการดูดซึม กลูโคสของกล้ามเนื้อลาย จากกระบวนการสร้าง IGF-I มีการสร้างจากเซลล์ตับ (Hepatocytes) และบางส่วนถูกสร้างจากกล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) และเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) รวมถึงเซลล์ของกระดูกอ่อน
IGF-1 กับ Growth Hormone เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และ ฮอร์โมน IGF-1 จะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกระตุ้นการเติบโต ด้วยการกระตุ้นเซลล์ กระดูกอ่อน กระตุ้นการลำเลียงกรดอะมิโน ทำให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ และขนาดของกล้ามเนื้อ IGF-1 หลั่งได้ดีเมื่อร่างกายได้ออกกำลังกาย สามารถผลิตได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ยังคงผลิตฮอร์โมนต่อถึงแม้กระดูกจะปิดแล้ว ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมร่างกาย
ความแตกต่างของการทำงานระหว่างโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมน IGF-1
IGF-1
- หลั่งได้ดีเมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงอย่างสม่ำเสมอ
- สามารถผลิตได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถสูงขึ้นได้ตลอดเวลา
- ยังคงผลิตได้เมื่อกระดูกปิดแล้ว
- ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมร่างกาย
Growth Hormone
- หลั่งได้ดีที่สุดในช่วง 22.00 – 02.00 น. เมื่อนอนหลับสนิท
- หลั่งเฉพาะในตอนกลางคืน ช่วงที่มีการหลับลึกเท่านั้น
- เมื่อกระดูกปิดฮอร์โมน จะไม่ช่วยให้สูงขึ้นได้อีก
- ช่วยซ่อมแซมร่างกายเมื่อร่างกายหยุดเจริญเติบโตแล้ว
IGF-1 ทำหน้าที่อะไรบ้าง?
- ทำให้เซลล์ประสาทที่เสื่อมและตายไป สามารถถูกสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้
- ทำหน้าที่แทนฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้ในระดับหนึ่ง เช่น เมื่อบีเซลล์(B-cells)ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายไปบางส่วนหรือตับอ่อนถูกตัดออกทั้งหมด (เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน มนุษย์จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเรื้อรังที่ไม่ได้ทำการบำบัดฮอร์โมนนี้จะลดระดับอย่างรวดเร็ว
- สร้างเซลล์ต่างๆของร่างกายขึ้นมาทดเเทนเซลล์ที่เสื่อมและตายไป เช่น เซลล์กระดูก กระดูกอ่อน และเซลล์กล้ามเนื้อ เป็นต้น
- สร้างภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นโดยการสร้างเม็ดเลือดขาว B-cell และ T-cell lymphocyte เพิ่มขึ้น
- ลดระดับ LDL-Cholesterol ด้วยกระบวนการ Macrophages
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น โดยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ลดการสลายกล้ามเนื้อและการขับไนโตรเจนออกจากร่างกาย
- ทำให้เซลล์กระดูกแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำของต่อม Parathyroid และวิตามินดี
- ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและจำนวน
- ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อดูดซึมกรดอะมิโน น้ำตาลกลูโคส เข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินเป็นพลังงานให้ร่างกาย ไม่เป็นโรคอ้วน มีภูมิต้านทานต่อโรค และสามารถต้านทานความชราภาพได้
- คืนความเป็นหนุ่มเป็นสาว ด้วยกลไกการกระตุ้นการสร้าง Stem-cell
- ทำให้อายุยืนยาว ด้วยกลไกการเพิ่มความยาวของ Telomere
ทำอย่างไรถึงจะเพิ่มปริมาณ IGF -1 ได้?
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
- งด หรือ ละเว้นอาหาร จำพวกแป้ง และ น้ำตาล
- การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
- นอนหลับอย่างเพียงพอ
- รับประทานสารอาหารที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน(Growth hormone)ซึ่งมีหลายชนิด โดยเฉพาะกรดอะมิโน(Amino acid) กลุ่ม หนึ่ง เช่น แอลกลูตามีน(L-glutamine), แอล ไกลซีน(L-glycine),แอลไลซีน(L-lysine),แอลอาร์จินีน(L-arginine), แอลออร์นิทีน(L-Ornithine)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ปัจจุบันเราสามารถตรวจระดับ GH ได้ง่าย ๆ ด้วยการตรวจฮอร์โมนอีกตัว คือ
- IGF-1 (Insulin-like-Growth Factor – 1)
เพราะเป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากการกระตุ้นของ GH ที่บริเวณเซลล์ตับ อยู่ในเลือดนานกว่า GH และตรวจได้ง่ายกว่า
แนะนำตรวจวัดช่วงเช้าหลังงดทานอาหารมาแล้ว 8 ชม. ขึ้นไป
เอกสารอ้างอิง
Brugts MP, Ranke MB, Hofland LJ, van der Wansem K, Weber K, Frystyk J, Lamberts SW, Janssen JA. Normal values of circulating insulin-like growth factor-I bioactivity in the healthy population: comparison with five widely used IGF-I immunoassays. J Clin Endocrinol Metab. 2008;93
Berg U, Bang P. Exercise and circulating insulin-like growth factor I. Hormone Research in Paediatrics, 2004; 62: 50-8.
Delanaye P, Bataille S, Quinonez K, Buckinx F, Warling X, Krzesinski JM, et al. Myostatin and Insulin-Like Growth Factor 1 are biomarkers of muscle strength, muscle mass, and mortality in patients on hemodialysis. Journal of Renal Nutrition, 2019: 1-10.
Frysak Z, Schovanek J, Iacobone M, Karasek D. Insulin-like Growth Factors in a clinical setting: Review of IGF-I. Biomed Pap Med Fac Univ Palacky Olomouc Czech Repub. 2015;159(3):347–351.
Gomes RJ, de Mello MAR, Caetano FH, Sibuya CY, Anaruma CA, Rogatto GP, et al. Effects of swimming training on bone mass and the GH/IGF-1 axis in diabetic rats. Growth Hormone & IGF Research, 2006; 16(5-6): 326-331.