โรคไต - Kidney Disease

โรคไต ภัยร้ายใกล้ตัว

สาเหตุเกิดจากอะไร? ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ไต (kidney) เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากกับร่างกาย มีรูปร่างคล้ายถั่ว อยู่บริเวณใต้ชายโครงข้างหลังทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ ดังนี้

  • ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
  • ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
  • สร้างฮอร์โมนที่ใช้สร้างเม็ดเลือดเเดงเเละวิตามินดี (Vitamin D)
  • กำจัดสารพิษเเละยาที่ได้รับออกจากร่างกาย

ดังนั้น การดูแล ไต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้ไตยังทำงานได้ดี หากไตเกิดความเสียหาย หรือไม่สามารถทำงานได้ปกติ ย่อมส่งผลกระทบต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย โดยโรคไตที่มักพบบ่อย ได้แก่ ไตวาย ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ และ นิ่วในไต

โรคไต คือ โรคอะไร ?

โรคไต (Kidney disease) คือ ภาวะที่ไตทำงานน้อยลง หรือ การทำงานผิดปกติของไต เนื่องจากหน้าที่หลักของไต ทำหน้าที่กำจัดของเสีย และสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย รวมถึง หลั่งสารฮอร์โมน ควบคุมน้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย ดังนั้น หากไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือผิดปกติ ส่งผลให้เป็นโรคไต ภาวะไตเสื่อม จนทำให้กระทบต่อระบบต่างๆในร่างกายต่อไต (Kidney)

โรคไตเริ้อรัง คือ ภาวะที่ไตทำงานได้ลดลง โดยดูจากอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติ หรือ ไตมีภาวะผิดปกติ มากกว่าสามเดือนขึ้นไป

ไต - kidney

สาเหตุของโรค ไตวาย

  • การสูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป
  • โรคเบาหวาน, โรคเก๊าท์ 
  • ความดันโลหิตสูง
  • อาการแพ้อย่างรุนแรง
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • ได้รับสารพิษ

โรคไตมีกี่ระยะ ?

  โรคไตเเบ่งออกเป็น  5 ระยะ

  1. โรคไตระยะที่ 1 : ค่าคัดการกรองของไต (GFR)>90
  2. โรคไตระยะที่ 2 : เรียกว่า ระยะเริ่มประเมิน และชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง ค่าการกรองของไต (GFR) 60-90
  3. โรคไตระยะที่ 3 : ไตต้องเพิ่มการดูแลเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนของไต ค่าการกรองของไต (GFR) 3a 45-59 อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง / 3b 30-44 อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง
  4. โรคไตระยะที่ 4 : ระยะที่ควรเริ่มมีการวางแผนบำบัดไต เนื่องจากไตเข้าภาวะทำงานน้อยลงค่าการกรองของไต (GFR) <30
  5. โรคไตระยะสุดท้าย : การเริ่มบำบัดทดแทนไต คือ ภาวะสุขภาพไตเข้าสู่วิกฤต ซึ่งไตสามารถทำงานได้เพียง <15
ระยะของ ไตเรื้อรัง

โรคไตอาการ อาการไตเสื่อม เป็นอย่างไร ?

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายสะอึก ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป
  • ผิวแห้ง ระคายเคืองผิว คัน
  • มีอาการบวมน้ำ ตัวบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน
  • ปัสสาวะผิดปกติ อาจมากหรือน้อยต่างกัน มักจะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • เป็นตะคริวบ่อยๆ
อาการไตเสื่อม - Symptoms of Kidney Disease

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับ โรคไต

  1. อาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซอสต่าง ๆ อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูหยอง และอาหารเติมเกลือ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้ม/โจ๊กซอง
  2. อาหารที่มีคลอเลสเตอรอล หรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของเนย และครีม เช่น เค้ก พิซซ่า และผลิตภัณฑ์ขนมอบ
  3. ลดการกินเนื้อสัตว์ลงโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่
  4. อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง
  5. สำหรับผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น หัวปลี แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ผักคะน้า  กล้วย ฝรั่ง  ลูกพรุน  น้ำมะพร้าว  เป็นต้น

เรามี 5 เมนูอาหาร ห่างไกล โรคไต มาแนะนำให้แล้ว <<คลิกที่นี้ เพื่อดูรายละเอียด>>

อาหารที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วย โรคไต หรือ ผู้ที่มีอาการ โรคไต กำเริบ

  • ผู้ที่เป็นโรคไตควรบริโภคอาหารให้ครบ 3 มื้อ สำคัญควรครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมกับระยะการทำงานของไต, คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่/แร่ธาตุ และไขมัน ซึ่งหมวดหมู่แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่พอดี เหมาะสมกับคนที่เป็นโรคไต 
  • คาร์โบไฮเดรต เป็นหมวดหมู่ที่ผู้ที่เป็นโรคไตควรรับประทาน สำหรับผู้ที่โรคไตวายเรื้องรังระยะสุดท้ายต้องจำกัดโปรตีนจำนวนมาก แนะนำให้เลือกแป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น เป็นต้น แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม 
  • ข้อแนะนำสำหรับการรับประทานโซเดียม สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตทุกระยะ ควรจำกัดปริมาณการทานอย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานโซเดียมเกิน 2-3 กรัม/วัน ควรลดปริมาณการปรุงซอสต่างๆ แต่ไม่ควรรับประทานเครื่องปรุงประเภท Low sodium เนื่องจากจะได้รับแร่ธาตุอื่นที่เป็นภาระต่อไตในการขับออกมาแทน เช่น โพแทสเซียม เป็นต้น

อยากรู้เรื่อง การกินอาหารอย่างไร เมื่อไหร่เป็นโรคไต แบบละเอียด  <<คลิกที่นี้เพื่ออ่าน >>

การดูแลสุขภาพ ไต

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
  2. รับประทานอาหารและใช้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม
  3. ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณสีข้าง
  4. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  5. งดบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์
  6. ใช้ยาอย่างระมัดระวัง

อยากตรวจเช็ค ไต ตัวเองว่า ดีแค่ไหน  <<คลิกที่นี้เพื่อดูรายละเอียด >>

การดูแลสุขภาพ ไต - Kidney Health Care

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page