fbpx
โรค หลอดเลือดสมองตีบตัน - Ischemic stroke

โรค หลอดเลือดสมองตีบตัน (Stroke)

โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน คืออะไร?

         โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันหรือมีเลือดออกในสมอง หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

โรคหลอดเลือดสมองมี 3 ประเภท

  1. หลอดเลือดlสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)
  2. หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
  3. มีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack) นำมาก่อน(ในผู้ป่วยบางราย)

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) คืออาการโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการเป็นไม่นาน (น้อยกว่า 24 ชั่วโมง) แล้วอาการดีขึ้นได้เอง สาเหตุของ TIA เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเป็นระยะเวลาชั่วคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการ 5-15 นาที แล้วอาการดีขึ้นเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรทำการพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจแยกระหว่างโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ

หลอดเลือดสองตีบตัน - Ischemic stroke

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ภาวะเครียด

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

  • ขา หรืออ่อนแรงที่ใบหน้า สูญเสียความสามารถในการควบคุมใบหน้า ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว
  • ชา อ่อนแรงที่ระยางค์แขน-ขา ซีกใดซีกหนึ่ง อย่างฉับพลัน สูญเสียความสามารถในการเดิน ไม่สามารถทรงตัวได้
  • มีอาการสับสน สูญเสียความสามารถในการพูด นึกคำไม่ออก
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน เห็นภาพไม่ชัด
  • ปวดศีรษะรุนแรง

เมื่อคาดว่ากำลังเผชิญกับภาวะโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยและญาติควรยึดหลักปฏิบัติ “FAST” ดังต่อไปนี้

  • F – Face : สังเกตใบหน้าขณะยิ้ม ว่ามีอาการมุมปากตก หรือ ปากเบี้ยวขณะยิ้มหรือไม่
  • A – Arms :  สังเกตความสามารถในการยกแขนทั้งสองข้าง ว่าสามารถยกได้ความสูงเท่ากัน หรือมีแขนข้างใดข้างหนึ่งตก ไม่มีแรงยกแขนหรือไม่
  • S – Speech : ถามคำถามง่ายๆที่คาดว่าผู้ป่วยน่าจะตอบได้ ฟังการพูดของผู้ป่วยว่าสามาถพูดได้ชัด หรือสับสนในการตอบคำถามหรือไม่
  • T – Time : หากเกิดอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันที
วิธีตรวจสอบ อาการ หลอดเลือดสมองตีบตัน

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง

  • ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • การได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ที่มากเกินความจำเป็น
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm or arteriovenous malformation)
  • มีประวัติการได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
  • มีโปรตีนสะสมผิดปกติในผนังหลอดเลือด (cerebral amyloidosis)
  • ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
    • โรคอ้วน ทานอาหารที่มีไขมันมาก และมีปริมาณโซเดียมสูง เช่นอาหารที่มีรสเค็ม อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป
    • สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
    • ดื่มสุรา
    • ใช้สารเสพติด

โรคประจำตัวและความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง

  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ไขมันคลอเรสเตอรอลสูง (LDLสูง)
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation, ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ (infective endocarditis)
  • โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (severe carotid or vertebral stenosis)
  • ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
  • โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical leukoencephalopathy (CADASIL)
  • มีการเซาะตัวของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (carotid or vertebral artery dissection)

ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • อายุ — ผู้สูงวัยอายุ 55 หรือมากกว่า มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรค มากกว่าคนหนุ่มสาว
  • เชื้อชาติ— กลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
  • เพศ — เพศชายมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพศหญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงมักจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้น และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • การใช้ฮอร์โมน —การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง หลอดเลือดสมองตีบตัน

วันนี้เราทุกคนสามารถดูเเลสุขภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เเละรู้ก่อนรักษาทัน  ด้วยการตรวจเช็คสุขภาพสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี  โดยการตรวจเลือด/ตรวจสุขภาพ

โปรเเกรมตรวจภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจเเละสมองตีบตัน  (รายละเอียดโปรเเกรม)

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page