fbpx
ไทรอยด์ - Thyroid

ไทรอยด์ รักษาได้ ไม่อันตรายอย่างคิด

ต่อม ไทรอยด์ (Thyroid Gland) คืออะไร?

เป็น ต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอลักษณะคล้ายปีกของผีเสื้อ โดยทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ไทรอยด์ และหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ทำหน้าที่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง (Pituitary Grand) และ ต่อมไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus Grand) ซึ่งการสร้างฮอร์โมน ไทรอยด์ จำเป็นต้องใช้ ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบ หากได้ ไอโอดีน มากหรือน้อยเกินไป อาจทำให้ ไทรอยด์ ทำงานผิดปกติ และส่งผลกระทบต่ออวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย

หน้าที่สำคัญของ ไทรอยด์ ฮอร์โมน (Thyroid Hormone)

  • เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ
  • สัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท รวมถึงภาวะด้านอารมณ์
  • เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญของร่างกาย การควบคุมอุณหภูมิ
  • เกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะหลายชนิด เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ และกระดูก

ทั้งนี้ หากร่างกายมีภาวะระดับฮอร์โมนสูงกว่าปกติ จะไปกระตุ้นให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากขึ้น ภาวะนี้เรียกว่า “ไทรอยด์ เป็นพิษ ” ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ต่อมไทรอยด์ - thyroid gland

ไทรอยด์ เป็นพิษ มีอาการแสดงอย่างไร?

ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงของไทรอยด์ที่แตกต่างกันไป บางรายไม่มีอาการแสดง บางรายอาการชัดเจน และอาจรุนแรงถึงขั้นวิกฤติ เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์กระตุ้นการทำงานของร่างกายหลายระบบ ในผู้ป่วยแต่ละคนจึงมีอาการได้หลากหลาย ดังนี้

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด

    • เหนื่อยง่าย
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • ใจสั่น
    • หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ อาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลว
  • ระบบประสาท
    • มือสั่น
    • หงุดหงิดง่าย
    • นอนไม่หลับ
    • กระสับกระส่าย
    • ขาดสมาธิ
  • ระบบผิวหนัง
    • เหงื่อออกมาก
    • ผิวชื้น
    • ผมร่วง ศีรษะล้าน
    • หนังหนา บริเวณหน้าแข้ง
    • นิ้วปุ้ม เล็บกร่อน
  • ระบบตา
    • ตาโตขึ้น
    • เปลือกตาเปิดกว้าง หรืออาจ ตาโปน
  • ระบบทางเดินอาหาร
    • หิวบ่อย
    • ถ่ายบ่อย
    • ถ่ายเหลว
    • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ระบบเผาผลาญ
    • น้ำหนักตัวลด แม้ทานปกติ หรือ ทานมากฃึ้น
    • ตัวอุ่นขึ้น
  • ระบบสืบพันธุ์
    • ประจำเดือนมาผิดปกติ กระปริดกระปรอย ประจำเดือนขาด 
    • มีบุตรยาก
  • ระบบกล้ามเนื้อ
    • อ่อนแรง
    • มือสั่น
  • คอ
    • คอโต
    • บางรายอาจมีก้อนที่ไทรอยด์
อาการ ไทรอยด์ - symptoms for thyroid

สาเหตุที่ทำให้ ไทรอยด์ เป็นพิษ

  • ไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากขึ้น
  • ไทรอยด์อักเสบ จึงปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ออกมามาก
  • ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินขนาด จากยา หรือผสมในอาหารเสริมบางชนิด
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • ภาวะแพ้ท้องรุนแรง หรือเนื้องอกรังไข่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มาก
  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ แต่พบได้น้อยมาก

ไทรอยด์เป็นพิษแบ่งได้ 2 ชนิด

  1. ต่อมไทรอยด์โต แบบเป็นพิษ หรือ ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroid) หรือไทรอยด์ชนิดผอม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    • ชนิดโตทั่วไป (Graves’ disease)
    • ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ (Toxic multinodular)
    • ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule)
  2. ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) หรือ ไทรอยด์ชนิดอ้วน เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับต่อมไทรอยด์ทำงานมาก คือฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดอยู่ในระดับน้อยเกินไป และทำให้เกิดอาการผิดปกติต่อร่างกาย

ความแตกต่างระหว่าง Hyperthyroid และ Hypothyroid

Hypothyroid : เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ จึงมีการเผาผลาญพลังงานน้อยกว่าปกติ และมีอาการต่างๆ เช่น

  • เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร
  • ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง
  • น้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุ
  • เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว
  • ท้องผูก
  • บางรายประจำเดือนผิดปกติ

Hyperthyroid : เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง จึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ และมักมีอาการเหล่านี้

  • ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้น ตกใจง่าย
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
  • ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย
  • หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น
  • เหนื่อยง่าย
  • ประจำเดือนน้อยลง

ความแตกต่างระหว่าง Hyperthyroid และ Hypothyroid

เจาะเลือดวัดระดับค่าไทรอยด์เช่น 

Thyroid Function

  • FT3
  • FT4
  • TSH
ตรวจการทำงานต่อมไทรอยด์ - check for thyroid function.

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page