โรค หลอดเลือดหัวใจตีบดัน - Coronary artery disease

โรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน

โรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน คืออะไร?

          โรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองลงมาจากโรคมะเร็ง หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องมีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี เพื่อยืดอายุของคนไข้ให้ยาวนานขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกระทำได้อย่างเหมาะสมก็จะสามารถต่อเวลาชีวิตออกไปได้

          ในช่วงหลายสิบกว่าปีที่ผ่านมา คนไทยมีแนวโน้มของการเสียชีวิตด้วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบัน นอกจาก จะเกิดจากจากกรรมพันธุ์แล้ว พฤติกรรมในการใช้ชีวิต(lifestyle)การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนเเปลงไป ดังเช่น พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปโดยส่วนใหญ่ชอบทานอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง  ออกกำลังกายน้อยลง มีภาวะความเครียดมากขึ้น และการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น หากรู้ตัวว่าเป็นแล้วต้องดูแลตนเอง ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ให้สุขภาพดี เเละสามารถยืดอายุให้ยาวนานขึ้น

สาเหตุหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน

          โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ แข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน- Coronary artery disease

ปัจจัยเสี่ยงคุมไม่ได้

  • อายุที่มากขึ้นมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้น
  • เพศชายมีโอกาศมากกว่าเพศหญิง หากในวัยหมดประจำเดือนเพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่ากับเพศชาย
  • พันธุกรรม

ปัจจัยเสี่ยงควบคุมได้

  • โรคความดันโลหิตสูง : การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้น หลอดเลือดตีบแข็งและอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
  • การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2 – 4 เท่า เนื่องจากสารที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ระดับไขมันในเลือด : ผู้ที่มีระดับไขมัน LDL คอเลสเตอรอลสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้น ไขมันชนิด  LDL นี้ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนน้อยลง ในที่สุดหลอดเลือดหัวใจก็อุดตันและเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • โรคเบาหวาน : ทำให้มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้น เบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง
  • การขาดการออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ และช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เบาหวาน และน้ำหนักที่มากเกินหรืออ้วน
  • ความอ้วน : ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 กิโลกรัม / ส่วนสูง (เมตร)2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2 หรือหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย แม้มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม / (เมตร)2 ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

อาการหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน

  • ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ  แต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันค่อนข้างมากจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมากจนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคาง หรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
  • หายใจหอบ เหนื่อย อึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด
  • เหงื่อแตกใจสั่น
  • หน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม เนื่องจากความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • หมดสติ หัวใจหยุดเต้น (Heart Attack)
การดูแลตนเองเพื่อป้องกัน - Self care to prevent

การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเเละตัน

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวาน เค็มจัด และมีไขมันไม่อิ่มตัว
  • ทานอาหารให้เหมาะสมกับปริมาณพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น มีไขมันน้อย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดความเครียด
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คลิกที่นี่ (เพื่อดูรายละเอียดโปรเเกรม)

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page