ผู้สูงอายุ หมายถึงใคร?
ผู้สูงอายุ มีความหมายว่า คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ ต้องดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์
การเปลี่ยนแปลงใน ผู้สูงอายุ ที่มักพบกันบ่อยๆ ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
- การมองเห็นไม่เหมือนเดิม
- การได้ยินเสียงลดลง
- การบดเคี้ยวลำบากขึ้น ระบบต่างๆ เสื่อมถอยลง เช่น ระบบประสาทเซลล์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบการ ไหลเวียนโลหิต ทำงานได้ลดลง จึงเกิดโรคได้ง่าย
- การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
- ด้านความรู้สึก
- การรับรู้
- จิตใจ อารมณ์ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ภาวะหลงลืม ภาวะทางความคิด ผู้สูงอายุจะชอบคิดเรื่องเดิม ๆ ซ้ำซาก ภาวะทางอารมณ์อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง
การดูแล ผู้สูงอายุ
การดูแล ผู้สูงอายุ มีความจำเป็นและสำคัญมาก เราควรเอาใจใส่ในด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวได้ช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลีย และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ลำบากขึ้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ภาวะแบบนี้เรียกว่า
ภาวะเปราะบาง ใน ผู้สูงอายุ หรือ เฟรลตี้ (Frailty)
ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อย ไม่มีแรง รวมทั้งน้ำหนักลดลงเอง บุคคลในครอบครัวต้องหมั่นสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของเราเกิดอาการภาวะเปราะบางหรือไม่ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึง ผู้สูงอายุนั้นๆ กำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น
- รูปร่างผอมลง น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น
- เกิดอาการอ่อนเพลีย ยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงที่จะถือสิ่งของ
- รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ทำเพียงนิดหน่อยก็จะมีอาการเหนื่อย
- สมรรถภาพในการทำกิจกรรมลดลง อาทิ ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน
เตรียมสุขภาพ ผู้สูงวัย อย่างมีคุณภาพ
- การรับประทานอาหาร
- เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นอาหารที่เหมาะกับวัย
- รับประทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก แป้ง, อาหารที่มีไขมันสูง, อาหารรสหวาน, อาหารที่มีรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 10 แก้ว
- การออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 20-30 นาที ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
- เลือกวิธีการบริหารกายที่เหมาะสมกับวัย ให้อวัยวะทุกส่วนได้เคลื่อนไหว
- ออกกำลังกายในที่ปลอดภัย
- การตรวจสุขภาพ
- การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย สำหรับการดูแลผู้สูงอายุแนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 2 ปี เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค และค้นหาโรคเพื่อวางแผนการรักษา ในระยะแรกเริ่ม เช่น โรค หลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึง โรคมะเร็ง
ดังนั้น ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแล ผู้สูงอายุ ด้วยความรักและความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่าง มีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด การดูแลเรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ