fbpx
ไขมันในเลือดสูง เกิดจากพฤติกรรม High blood cholesterol caused by lifestyle

ไขมันในเลือดสูง เกิดจากพฤติกรรม

ความเสี่ยงต่อ โรคหัวใจตีบตัน จากภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ไขมันต่างชนิด ส่งผลต่อสุขภาพต่างกัน

          ปัจจุบันคนไทยเริ่มหันมาใส่ใจ ดูแลสุขภาพ กันมากขึ้น เพราะ การดูเเลสุขภาพ คือ การชะลอความเสื่อมของเซลล์ รู้ทันก่อนเจ็บป่วย เเละยัง ชะลอวัย ด้วย การดูเเลสุขภาพ ดังเช่นการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (ให้ครบอาหารหลัก 5 หมู่) เสริมด้วยอาหารเสริมสุขภาพ (วิตามิน เเละ เเร่ธาตุ ต่างๆ) การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อย 8 ชม.) ทำจิตใจให้เบิกบานไม่เครียด 

ภาวะ ไขมันในเลือดสูง ก็เป็นสาเหตุให้เกิดหลายโรคตามมา โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับ หลอดเลือดหัวใจ และ หลอดเลือดสมอง  ดังนั้นเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ภาวะไขมันในเลือดสูง”

ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร?

         ภาวะ ไขมันในเลือดสูง  คือภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้ โรคอ้วนลงพุง (อ่านบทความ โรคอ้วนลงพุง คลิกที่นี้) เเละ ไขมันพอกตับ ด้วย

ไขมันในเลือดสูง Hyperlipidaemia

คลอเรสเตอรอล คืออะไร

         คอเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น  ทำหน้าที่ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนและเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อบุเซลล์ คลอเลสเตอรอล ส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากตับ บางส่วนพบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน (ประมาณ 30%) ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง(ประมาณ 70%)

         ซึ่งคลอเลสเตอรอลยังเกิดจากไขมันชนิดอิ่มตัว ถ้าอาหารที่รับประทานมีไขมันชนิดอิ่มตัวสูงจะทำให้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ชนิดของ ไขมันในเลือด

คลอเรสเตอรอล (Cholesterol)
        เนื่องจากคอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถละลายอยู่ในกระแสเลือดได้โดยลำพัง ต้องอาศัยการรวมตัวกับโปรตีนจึงจะอยู่ในกระแสเลือดได้ การรวมตัวระหว่างไขมันและโปรตีนนี้เราเรียกว่า ไลโพโปรตีน (Lipoprotein) มี 2 ชนิด คือ

  1. HDL (High Density Lipoprotein) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง
  2. LDL (Low Density Lipoprotein) เป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ
    • HDL ทำหน้าที่นำคลอเลสเตอรอลส่วนเกินส่งไปทำลายที่ตับเราจึงเรียก HDL ว่าเป็นคลอเลสเตอรอลชนิดดี
    • LDL ทำงานตรงข้ามกับ HDL คือ ทำให้แผ่นหรือคราบของไขมันเกาะพอกอยู่ในหลอดเลือดแดง เราจึงเรียก LDL ว่าคลอเลสเตอรอลผู้ร้าย

คอเลสเตอรอลทั้ง 2 ชนิดนี้หากมีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้

ระดับ คลอเรสเตอรอล ที่ปกติ

การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลสามารถทำได้โดยการเจาะเลือด ปริมาณระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดที่ควรมี

  • คลอเลสเตอรอลรวม ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • LDL คอเลสเตอรอล ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • HDL คอเลสเตอรอล ผู้ชาย สูงกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้หญิง สูงกว่า 55 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
คลอเลสเตอรอล Cholesterol

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

          ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันในเลือดอีกประเภทหนึ่ง ได้จากอาหารอาหารประเภทเเป้ง น้ำตาล เเละการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทานปริมาณมากเกินไป เเป้งเเละน้ำตาลก็จะไปสะสมที่ใต้ผิวหนังช่องท้อง ทำให้ลงพุง และไปสะสมที่อวัยวะต่างๆโดยเฉพาะตับ เกิด “ภาวะไขมันพอกตับ (liver lipid)” ซึ่งมีโอกาสกลายเป็นตับเเข็งเเละเป็นมะเร็งตับ เเละระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดควรต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ปัจจัยที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง

  1. การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และ ไขมันทรานส์ ที่พบในคุกกี้ เบเกอรี่ เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันครบส่วน จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล
  2. โรคอ้วน คือ คนที่มีดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะเสี่ยงต่อการมีคลอเลสเตอรอลสูง
  3. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยเพิ่ม HDL ในร่างกายหรือคอเลสเตอรอลชนิดดี
  4. สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำลายผนังหลอดเลือดทำให้มีแนวโน้มที่จะสะสมไขมัน การสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับ HDL ลดลง
  5. อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูงเพิ่มขึ้น ตับจะกำจัด LDL คอเลสเตอรอลได้น้อยลง
  6. โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลที่เป็นอันตราย LDL   สูงขึ้น และ    HDL  ลดลง น้ำตาลในเลือดสูงยังทำลายเยื่อบุหลอดเลือดเเดงด้วย

คลอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ รวมถึงน้ำหนักตัว   ชนิดอาหารที่รับประทาน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและเลือกรับประทานอาหารที่มีสัดส่วนเหมาะสมจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้

  1. การลดน้ำหนัก :น้ำหนักตัวที่เหมาะสมจะทำให้ปริมาณไขมันในร่างกายลดน้อยลงซึ่งมีผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลลดลงเช่นกัน  มาตรฐานน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสามารถชี้วัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย(BMI) ควรมีค่าน้อยกว่า 23
    • วิธีหาดัชนีมวลกาย คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูงเป็นเมตร2)
    • เส้นวัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร (35.4 นิ้ว) หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร (31.4 นิ้ว)
  2. ลดการรับประทาน ไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) เพราะไขมันอิ่มตัวจะทำให้เกิดคลอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้นในร่างกายได้
    • กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) คือ ไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่พบในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว (tallow) น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย เเละไขมันจากพืช เช่น กระทิ น้ำมันปาล์ม
  3. ควรเลือกรับประทานอาหารประเภท กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid)
    • กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง และกลายเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำลง พบมากใน  น้ำมันมะกอก น้ำมันงา หรือ น้ำมันดอกคำฝอย อะโวคาโด ปลาที่มีกรดไขมันอย่างทูน่า แมคเคอเรล หรือแซลมอน และถั่วหรือเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ  ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวนี้ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี(LDL) ลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
      • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน พบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันทานตะวัน ถั่วและเมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ไขมันประเภทนี้  ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี(LDL)ในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ให้สารอาหารที่เสริมสร้างเซลล์ในร่างกาย และทำให้ได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ เช่น โอเมก้า 6 (OMEGA 6) และ โอเมก้า 3 (OMEGA 3) การบริโภค กรดไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน จะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากกว่าบริโภค ไขมันอิ่มตัว หรือ ไขมันทรานส์ (Trans fat)
  4. เลือกรับประทานอาหารที่ เพิ่มคลอเรสเตอรอล เช่น รับประทานปลาทะเล (ทูน่า ปลาทู แซลมอน ซาร์ดีน ฯลฯ) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ข้าว แป้ง และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท รวมถึงถั่วเมล็ดแห้ง งาดำ พริก รับประทานผักและผลไม้
  5. การออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ ประมาณ 30 นาที/วัน เช่น การวิ่ง(jogging) เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือปั่นจักยาน สามารถควบคุมไขมันได้ระดับหนึ่ง
  6. งดสูบบุหรี่ และ ลดการดื่มแอลกอฮอล์
พฤติกรรม ลด ไขมันในเลือด Factors that cause high blood lipid levels

การป้องกัน การเกิดโรค ไขมันในเลือดสูง

         การป้องกันการเกิดโรค ไขมันสูง คือการที่เราต้องรู้ว่า ไขมันในเลือดของเรานั้นอยู่ในระดับใด และมีไขมันแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใด เพราะไม่ใช่ไขมันทุกชนิดที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย

ฉะนั้น “การตรวจสุขภาพ” เพื่อให้ทราบปริมาณไขมันแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ  คือสิ่งจำเป็น

  • หากมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจเลือดเพื่อตรวจเช็คระดับไขมันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ควรตรวจเลือดทุกๆ 6 เดือน

ทุกอย่างล้วนอยู่ที่ตัวเราเอง หากเราใส่ใจสุขภาพและรู้จักป้องกันความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดโรคก็ลดลง ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตได้อย่างยาวนานขึ้นได้

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page