fbpx
ไมโครนิวเทรียนท์ - Micronutrients

ไมโครนิวเทรียนท์ ถึงใช้น้อยแต่สำคัญมาก

ไมโครนิวเทรียนท์ (Micronutrients) คืออะไร? เเละมีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย?

          ไมโครนิวเทรียนท์ (Micronutrients) คือ สารอาหาร โมเลกุลขนาดเล็ก ที่ร่างกายต้องการในปริมานเพียงเล็กน้อย จำพวก วิตามิน เกลือแร่ รวมทั้ง สารอาหาร จาก ผัก ผลไม้ หรือที่เรียกว่า ไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งสารอาหารต่างๆเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการทำงานต่างๆร่วมกัน และมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย

ไมโครนิวเทรียนท์ สำคัญอย่างไร

          เพราะ วิตามิน และ แร่ธาตุ เหล่านี้ทำหน้าที่หลากหลาย รวมถึงการช่วยให้ร่างกายผลิต เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการการพัฒนาตามปกติของร่างกาย

ทำไมต้องตรวจ ไมโครนิวเทรียนท์

          เป็นการตรวจภาวะโภชนาการของร่างกาย เพื่อนำมาวางแผนด้านโภชนาการ หรือการดูแล วิตามินเฉพาะบุคคล มีรายการตรวจดังต่อไปนี้

ไมโครนิวเทรียนท์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 Micronutrients Profile :

  • วิตามิน A (Retinol)
  • วิตามิน B12
  • วิตามิน C (Ascorbic acid)
  • วิตามิน D2
  • วิตามิน D3
  • วิตามิน E (Gamma-Tocopherol)
  • วิตามิน E (Alpha-Tocopherol)
  • ลูทีนและซีแซนทีน (Lutein + Zeaxanthin)
  • เบต้า-คริพโตแซนทิน (Beta-Carotene)
  • ไลโคปีน (Lycopene)
  • อัลฟ่า แคโรทีน (Alpha-Carotene)
  • เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene)
  • โคเอนไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10)
  • โครเมียม (Chromium)
  • ทองแดง (Copper)
  • ซีลีเนียม (Selenium)
  •  ธาตุสังกะสี หรือซิงค์ (Zinc)
  • แมกนีเซียม (Magnesium)
  • โฟเลต (Folate)
  • เฟอร์ริติน (Ferritin)

ประโยชน์ของวิตามินและแร่ธาตุแต่ละตัว

  1. วิตามินเอ (Vitamin A)
    • เป็น วิตามินละลายในไขมัน ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสําคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ และ การมองเห็น หากมีปริมาณทีไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะเสี่ยงมีปัญหาเรื่อง สายตา ตาแห้ง ตาบอด ติดเชือง่าย
  2. Vitamin B12
    •    เป็น วิตามินที่ละลายน้ำ มีความสำคัญที่ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ DNA ที่แข็งแรง ช่วยการทำงานของสมอง หากขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลต่อความจำและความรู้ความเข้าใจได้ แล้วยังช่วยเพิ่มระดับพลังงาน ลดความอ่อนแรง เหนื่อยล้า ป้องกันการเสื่อมของตา ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 12 จะเพิ่มขึ้นสำหรับกลุ่มคนที่รับประทานมังสวิรัติ
  3. วิตามินซี (Vitamin C)
    • เป็น วิตามินชนิดละลายในน้ำ ที่มีความสําคัญในการป้องกันการเกิดโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน ระบบ หัวใจและหลอดเลือด การดูดซึมธาตุเหล็ก และวิตามินซีมีผลต่อการสร้างเนื้อเยื่อ จึงส่งผลต่อ การซ่อมแซมผิวเมื่อเกิดแผล อีกทั้งยังมีผลต่อสุขภาพของกระดูกอ่อน กระดูก
  4. วิตามิน D2 และ D3 (Vitamin D2/D3)
    • เป็น วิตามินดีสอง รูปแบบหลัก วิตามิน D2 มีอยู่ในพืชและยีสต์ ในขณะที่ D3 มาจากสัตว์ วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และภูมิคุ้มกัน ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตวิตามินดีได้เมื่อถูกแสงแดด  วิตามินดีจึงมีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเราสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดด อาหาร หรือวิตามินเสริม
  5. Vitamin E Gamma – Tocopherol)
    • มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต่อต้านริ้วรอย ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และการเสื่อมลงตามอายุ
  6. Vitamin E (Alpha – Tocopherol)
    • ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวสุขภาพดี
  7. ลูทีน (Lutein)
    • เป็นสารประกอบจําพวกแคโรทีนอยด์ ที่ให้สีเหลือง และแดงในพืช ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูล อิสระที่มีความโดดเด่นในเรืองการป้องกันสุขภาพดวงตา จากการทําลายด้วยสารอนุมูลอิสระ และแสงยูวี หรือแม้กระทั่งแสงสีฟ้า เราสามารถพบสารนี้บนจอประสาทตาได้มาก เนื่องจาก มีความสามารถดูดซับแสงส่วนเกินที่เข้าสู่ดวงตา จึงสามารถป้องกันการเกิดจอประสาทตา เสื่อม
    • ลูทีน พบได้ในผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักชี ผักโขมบล็อคโคลี
  1. ซีแซนทีน (Zeaxanthin)
    • เป็นสารประกอบจําพวกแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่งที่พบมากบนจอประสาทตาปกป้องดวงตา จากแสงต่าง ๆ และสารอนุมูลอิสระ มักพบสารนีคู่กับลูทีน (Lutein) นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการปกป้องผิวจากการทําลายจากแสงแดด (UVB) อีกด้วย พบได้ในผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักชี ผักโขม บล็อคโคลี
  2. เบต้าคริพโตเเซนทีน (Beta – Cryptoxanthin)
    • เป็นสารอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารตังต้นของวิตามินเอทีร่างกายสามารถ ดูดซึมได้ดีและนําไปใช้ได้ดี (Bioavailability) มีส่วนช่วยลดความเสียงทีจะเกิดมะเร็งปอด เเละมะเร็งลำไส้ใหญ่  และช่วยต้านการอักเสบของร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบทีส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการเป็น รูมาตอยด์ พบมากใน  ส้มแมนดาริน ลูกพลับ ส้ม มะละกอ ฟักทอง
  3. ไลโคปีน (Lycopene)
    • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้สีแดงในพืช ช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทําลายจากสารต้าน อนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์แบ่งตัวผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง พบในผลไม้สีแดงและชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม และเกรปฟรุตสีชมพู
  1. แอลฟา-แคโรทีน (Alpha Carotene)
    • เป็นสารอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) และเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เช่นเดียว กับเบต้า-แคโรทีน แม้ว่าอัตราการดูดซึมจะน้อยกว่าเบต้า-แคโรทีน แต่มีงานวิจัยพบว่าช่วย ลดการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติ หรือเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ดีกว่า พบได้ในฟักทอง แตงโม แคนตาลูป แครอท มะม่วงสุก บีทรูท
  1. เบต้า-แคโรทีน (Beta Carotene)
    • เป็นสารกลุ่มรงควัตถุ (Pigment) ทีให้สีส้ม สีเหลือง และอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอจึงทําให้มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพ สายตา อีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องร่างกายจากความเสื่อม พบได้ใน ฟักทอง แตงโม แคนตาลูป แครอท มะม่วงสุก
  1. โคเอ็นไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10)
    • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากในไมโตรคอนเดรียของเซลล์ ช่วยทำให้เซลล์สร้างพลังงาน บำรุงหัวใจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดความถี่ในการเป็นไมเกรน นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า ผิวหนังถูกทำลาย และโรคทางสมองและปอด  พบได้ใน ปลาทะเลนําลึก ผักโขม บล็อคโคลี งาดํา ถั่วพิตาซิโอ
  2. แมกนีเซียม (Magnesium)
    • แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานเป็นปกติ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอ
      • การขาดแมกนีเซียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า และอ่อนแรง
      • การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติได้ และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุน
  3. โฟเลต(Folate)
    • เป็นวิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก สร้าง DNA และ RNA และเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน การมีโฟเลตในปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การตั้งครรภ์ วัยทารก และวัยรุ่น ในผู้ใหญ่คือช่วยในการบำรุงเลือด
  4. เฟอริติน(Ferritin)
    • ตรวจดูภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนในเลือด สามารถแสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือใช้เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นๆ

ทำไมเราถึงควรตรวจไมโครนิวเทรียนท์

          เพราะการขาดสารอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่อันตรายได้ โดยสามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อความสามารถโดยรวม อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเพิ่มความเสี่ยงจากโรคและสภาวะปัญหาสุขภาพอื่นๆ

          เราสามารถป้องกันการขาดสารอาหารเหล่านี้ได้จากความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมในกรณีที่จำเป็น ซึ่งปริมาณความต้องการของไมโครนิวเทรียนท์ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจ Micronutrient Profile

การตรวจ ไมโครนิวเทรียนท์ เหมาะสำหรับ

  1. ผู้ที่มีภาวะปกติที่อยากดูแลสุขภาพ ภาวะโภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ การตรวจสอบและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
  2. ผู้ที่มีภาวะผิดปกติ ที่อาจเกิดจากการขาดไมโครนิวเทรียนท์ ซึ่งอาจพบว่าทำให้เกิดโรคเบาหวาน อาการเหนื่อยล้า อารมณ์ผิดปกติ ควบคุมน้ำหนักได้ไม่ดี โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด ปวดไมเกรน ไม่สามารถอดทนต่อความเครียด มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ไมโครนิวเทรียนท์ - Micronutrients

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page