ภาวะ ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
เกิดจากการที่ ความดันเลือด สูงกว่าปกติ (มากกว่าหรือเท่ากับ 130/ 90) เป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ ถึงแม้จะไม่แสดงอาการ แต่จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย ซึ่งอาจทำให้ส่งผล ถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ ภาวะ ความดันโลหิต สูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปี และสามารถ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
ลักษณะอาการของโรค ความดันโลหิตสูง
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใดๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับ ที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง
สาเหตุและปัจจัยของโรค ความดันโลหิตสูง
- อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น
- พันธุกรรม
- โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ่านบทความ โรคอ้วนลงพุง คลิกที่นี้)
- การสูบบุหรี่
- อาหารที่มีเกลือสูง
- อาหารที่มี โพแทสเซียมต่ำ ทำให้ร่างกายเก็บสะสมโซเดียมไว้ในเลือดมากเกินไป เนื่องจากโพแทสเซียม ทำงานเพื่อปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย
- การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
- ความเครียด ระดับความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว
- โรคเรื้อรังบางชนิด โรคต่างๆ เช่น โรคไต เบาหวาน และภาวะหยุดหายในขณะหลับ อาจเพิ่มความดันโลหิตสูง
ระดับ ความดันโลหิต เท่าไรเสี่ยงเป็น ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้
- ความดันปกติ ระดับความดันต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท ถือว่าอยู่ในระดับปกติ
- ความดันสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 ถึง 129/80 มม.ปรอท
- ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 มม.ปรอท ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
- ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 หากความดันโลหิตมีค่าเกินกว่า 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไป ถือเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง และถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
วิธีการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูง
- การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม จัด
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์
- งดการสูบบุหรี่และงดดื่มสุรา
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- การทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ