โรค เบาหวาน (Diabetes) หมายถึงอะไร?
โรค เบาหวาน (Diabetes) หมายถึง โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลิน ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่
อินซูลิน’ เกี่ยวข้องกับ ‘โรค เบาหวาน’ อย่างไร?
อินซูลิน เป็น ฮอร์โมน ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยสร้างและหลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน มีหน้าที่พา น้ำตาลกลูโคส เข้าสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญและใช้เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต หากร่างกายขาด อินซูลิน หรือ อินซูลิน ออกฤทธิ์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ร่างกายก็จะนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็น “โรคเบาหวาน” นอกจากนี้การขาดอินซูลินยังทำให้เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมถึงมีความผิดปกติในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น มีการสลายตัวของสารไขมันและโปรตีนในร่างกาย
สาเหตุใดที่ทำให้ ตับอ่อน สร้าง อินซูลิน ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพราะอะไรที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินนั้น ในทางการแพทย์ก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยคนที่เป็นโรคเบาหวานมักมีประวัติพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติเป็นโรคเบาหวานด้วย
ตับอ่อนอักเสบ ทำให้เกิด เบาหวาน ได้อย่างไร ?
ตับอ่อน (Pancrease) เป็นอวัยวะที่มีสำคัญในการย่อยอาหารเเละควบคุมระดับน้ำตาล จึงไม่ควรละเลยโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตับอ่อน เพราะบางครั้งอาจไม่เเสดงอาการออกมาชัดเจน กว่าจะรู้ตัวก็รุนเเรงเเละยากต่อการรักษา
หน้าที่ของ ตับอ่อน ?
ตับอ่อนมีหน้าที่สำคัญ ได่เเก่
- ผลิตเอนไซม์ (Enzyme) หลายชนิดเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมันเเละโปรตีน เอ็นไซม์ที่สำคัญ เช่น อะไมเลส (amylase) เเละไลเปส(lipase)
- ผลิตฮอร์โมน (Hormone) ที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น อินสุลิน (Insulin) เเละ กลูคากอน (glucagon)
ดังนั้นหากเกิดโรคที่ทำให้ตับอ่อนเสียหน้าที่หรือหากตับอ่อนมีความผิดปกติ จะทำให้ร่างกายผลิตน้ำย่อยเพื่อย่อ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ไม่เพียงพอทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร รวมถึงไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวานในที่สุด
การเกิดตับอ่อนอักเสบในปัจจุบันมีสาเหตุหลักคือ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน แต่อาจพบผู้ป่วยส่วนน้อยที่ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์เลยก็เป็นได้ โดยอาจเกิดจากความผิดปกติของยีนผู้ป่วยแอลกอฮอล์ ยาแก้อักเสบบางชนิด ยาสเตียรอยด์ ตับอ่อนติดเชื้อ
10 สัญญาณอันตรายว่าเรากำลังเป็นโรค เบาหวาน หรือไม่
- อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ป่วยไข้
- ผอมลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
- ตาพร่ามัวลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดขา ปวดเข่า
- ผิวหนังแห้งและมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
- เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
- อารมณ์แปรปรวน โมโหง่าย
- แผลหายช้า ไม่แห้งสนิทหรือขึ้นสะเก็ด
ภาวะแทรกซ้อนของโรค เบาหวาน ที่ต้องระวัง
- เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง / หลอดเลือดหัวใจ
- เสี่ยงเบาหวานขึ้นตา
- เสี่ยงโรคไต
- เสี่ยงเกิดแผลติดเชื้อที่เท้า
การวินิจฉัยโรค เบาหวาน
แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว ทำการตรวจร่างกาย เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธี
การป้องกันโรค เบาหวาน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้
- เลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม
- ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนักตัว และรอบเอวให้เหมาะสม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หากมีอาการโรคเบาหวานควรไปพบแพทย์
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจสุขภาพปีละหนึ่งครั้ง