fbpx
กรดยูริก-Uric Acid

กรดยูริก(Uric Acid) สูงเสี่ยงอะไรบ้าง?

กรดยูริก (Uric Acid) สูงเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

         กรดยูริก (Uric Acid) เป็นตัวการร้ายที่หากสะสมในร่างกายมาก จะทำใก้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) เสี่ยงโรคเกาต์ ภาวะไตวาย โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง

          กรดยูริก (Uric Acid) คือสารที่เกิดจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายในขณะที่มีการสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารที่ม กรดยูริก สูง

อาหารที่มีกรดยูริกสูง มีอะไรบ้าง?

  • น้ำหวานทุกชนิด ได้เเก่ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรือทุกเครื่องดื่มที่ใส่น้ำเชื่อม เพราะในน้ำเชื่อมอาจจะมี น้ำตาลฟรุ๊กโตสผสมอยู่ ทำให้ระดับกรดยูริกในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะเบียร์ทุกชนิด เนื่องจากเบียร์มีส่วนผสมของยีสต์ที่มีพิวรีนสูง
  • เนื้อสัตว์ มักจะมีพิวรีน ซึ่งจะแตกตัวกลายเป็นกรดยูริกในร่างกาย อาจจะจำกัด ปริมาณให้ไม่เกิน 113-170 กรัม/วัน

  • เครื่องในสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต สมอง ฯลฯ ของสัตว์ทุกชนิด จะเป็นส่วนที่มีพิวรีนสูงกว่าเนื้อเสียอีก ควรหลีกเลี่ยง หรือนาน ๆ ทานครั้งหนึ่ง
  • ขนมขบเคี้ยว เนื่องจากเป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งไขมันชนิดนี จะทำให้กระบวนการกำจัด กรดยูริกในร่างกายทำงานได้ช้าลง
  • ผักชะอม เป็นผักที่มีกรดยูริกสูงมาก ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายเราไม่ควรมีค่ากรดยูริกในเลือดเกิน 6-8 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
อาหารที่มีกรดยูริกสูง - Foods that are high in uric acid

          ดังนั้นควรกินอาหารแต่พอดีหรือหลีกเลี่ยงในคนที่มีความเสี่ยงสูง ที่มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูง เพราะหากร่างกายมีกรดยูริกมากเกินกว่าความสามารถของไตจะขับออกได้ หรือไตมีความเสื่อมจนความสามารถในการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง เช่น ในผู้ป่วยไตเสื่อมหรือไตวาย ก็จะทำให้มีการสะสมของกรดยูริกมากขึ้นอีก

ภาวะ กรดยูริก ในเลือดสูง

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย โดยทางการแพทย์จะกำหนดว่าเมื่อกรดยูริกในเลือดสูงเกินขีดจำกัดของความสามารถในการละลายของกรดยูริก (Monosodium urate)

  • 6.8 มก./ดล.(mg./dl ) : มีภาวะกรดยูริกสูง
  • > 7.0  มก./ดล. ระดับกรดยูริกในเลือดระดับนี้จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือยูเรตหรือโรคเกาต์ และเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วที่ไต
กรดยูริกสูง - high uric acid

       ดังนั้นโดยทั่วๆ ไป เราจึงใช้ระดับกรดยูริก มากกว่า 7 มก./ดล. ในการบอกว่าเป็นภาวะกรดยูริกในเลือดสูงค่าการทำงานของไต (ระดับครีเอตินิน) น้ำหนัก อายุ เพศ ความดันโลหิตและการดื่มแอลกอฮอล์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้

          ปัจจุบันยังพบว่า การมีกรดยูริกสะสมในร่างกายปริมาณมากเป็นเวลานานจะทำให้เกิดภาวะไตเสื่อม เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้มากขึ้น โดยข้อมูลจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยชายที่เป็นโรคไตวายจนต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต ส่วนหนึ่งเกิดจากการเป็นโรคเก๊าท์หรือมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก่อน ในขณะที่ผู้ป่วยหญิงที่ฟอกไตส่วนมากเกิดจากการเป็นโรคเบาหวาน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

  • การออกกำลังกายเเละควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • จำกัดหรือลดการกินอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก เนื้อแดง อาหารทะเล และยีสต์ เป็นต้น
  • จำกัดการรับประทานผลไม้รสหวาน และเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลฟรุ๊กโตส
  • ลดหรืองดการดื่มสุรา (โดยเฉพาะเบียร์)
  •  ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เนื่องจากเมื่อร่างกายมีภาวะขาดน้ำ จะมีการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
  • รักษาภาวะหรือโรคอื่นที่พบร่วม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดสูง
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง - Behaviour modification for the treatment of hyperuric acidaemia

          การดูเเลสุขภาพโดยการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเช็คระดับกรดยูริก(ตรวจเลือด)จะทำให้เราตรวจพบความผิดปกติของระดับกรดยูริก ซึ่งหากพบความผิดปกติของกรดยูริกเเล้ว เราจะสามารถลดหรือควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดโดยการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถทำได้เลย ไม่มีอันตราย หรือผลข้างเคียง และช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้

แชร์บทความนี้ :

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

ทีแอลซี อุดร แลบเซ็นเตอร์ (สาขา อุดรธานี)

ขอนแก่น ทีแอลซี แลบเซ็นเตอร์ (สาขา ขอนแก่น)

โกลบอล ทีแอลซี ยูดี เมดิคอลแลบ (สาขา กรุงเทพฯ)

You cannot copy content of this page